วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ขนมไทย


 


ขนมทองหยิบ


ขนมทองหยิบ

ประวัติขนมทองหยิบ
ขนมทองหยิบ เป็นขนมหวานขื้นชื่อที่ นิยมรับประทานกันอีกชนิดหนึ่ง ความหวานของบขนมทองหยิบ แพร่หลายมาถึงปัจจุบันถือเป็นหนึ่งของร่องรอยที่ชาวโปรตุเกสทิ้งไว้

ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี เดอร์ กีมาร์ ภริยาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ขุนนางฝรั่งผู้มีบทบาทอย่างมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งท้าวทองกีบม้านี่เองที่สอนให้คนไทยทำขนมเหล่านี้

“ท้าวทองกีบม้า” หรือ “มารี เดอร์ กีมาร์” เกิดเมื่อพุทธศักราช 2201 แต่บางแห่งก็ว่า พุทธศักราช 2209 โดยยึดหลักกับปีที่แต่งงานกับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เมื่อปี พุทธศักราช 2225 ซึ่งขณะนั้น มารีมีอายุเพียง 16 ปี เท่านั้นเอง

บิดา ชื่อ “ฟานิก” (phanick) เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล มารดาชื่อ “อุรสุลา ยา มาดา” (Ursala Yamada) ซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ช่วงชีวิตหนึ่งของ

“ท้าวทองกีบม้า” ได้ไปรับราชการในสำนักพระราชวังตำแหน่ง “หัวหน้าห้องเครื่องต้น” ดูเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์และเก็บผลไม้เสวย มีพนักงานอยู่ภายใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน ซึ่งเธอทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ยกย่องเชิดชู

ระหว่างที่รับราชการนางมารีได้สอนการทำขนมหวานจำพวกทองหยอด ทองหยิบ ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิง และอื่นๆ ให้กับคนไทยได้นำมาถ่ายทอดต่อมาแต่ละครอบครัวและกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนถึงทุกวันนี้

ขนมน้ำดอกไม้



ขนมน้ำดอกไม้
ขนมน้ำดอกไม้เป็นขนมไทยที่ชื่อไม่คุ้นสำหรับใครหลายคน บางคนอาจจะยังไม่เคยกิน สมัยนี้อาจจะหากินยากสักหน่อย

ส่วน ผสม
แป้งเท้ายายม่อม 1 ช้อนโต๊ะ
แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย
น้ำตาลทราย 3/4 ถ้วย
น้ำปูนใส 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำลอยดอกมะลิ 1 3/4 ถ้วย
ถ้วยตะไลสำหรับใส่ขนม

วิธี ทำ
1. ให้นำ น้ำลอยดอกมะลิ น้ำตาล ลงในหม้อ ตั้งไฟ คนๆให้น้ำตาลละลาย พอเดือดให้ยกลง
กรองน้ำเชื่อมผ่านผ้าขาวบางให้สะอาด แล้วทิ้งไว้ให้เย็น จะได้น้ำเชื่อม
2. ใส่แป้งข้าวเจ้า แป้งเท้ายายม่อม ลงในชามผสม ใส่น้ำปูนใสและน้ำเชื่อมทีลงไปละน้อย จากนั้นนวดแป้งจนรวมตัวเป็นก้อน หยดใส่น้ำเชื่อม นวดต่อไปเรื่อยๆจนแป้งเหนียว ใส่น้ำเชื่อมที่เหลือจนหมด นำไปกรอง จากนั้นหมักแป้งไว้ 1 ชั่วโมง
3. ใส่น้ำในลังถึง ตั้งไฟให้เดือด แล้วนำถ้วยตะไลไปนึ่งให้ร้อนจัด แล้วใส่แป้งลงไป จากนั้นปิดฝาลังถึงแต่ไม่ต้องปิดสนิท
4. ใส่แป้งให้เต็มถ้วย นึ่งนานประมาณ 3 นาที พอหน้าขนมเริ่มบุ๋ม เบาไฟลง
นึ่งต่ออีกประมาณ 15 นาที
***ถ้าต้องการทำให้ขนมบุ๋มตรงกลางมากๆ ให้เทแป้งออกหลังจากนึ่ง พอแป้ง
จับขอบถ้วยก็เปิดฝา
ขนมชั้น
ขนมชั้นขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคลต่าง เพราะความเชื่อแบบไทยๆว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพ
ส่วนผสมของขนมชั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3 - 4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมชั้นในแต่ละแบบ ซึ่งแป้งแต่ละอย่างก็จะมีคุณสมบัติทำให้ขนมมีเนื้อต่างกัน
ขนมชั้นในสูตรโบราณกับสูตารปัจจุบันนั้นจะมีความแตกต่างกันทั้งสีสันและรูปร่าง ปัจจุบันจะนินมที่สีสันสอสวย ดึงดูดตาดูน่ากิน

ส่วนผสมของขนมชั้น
แป้งถั่วเขียว 2 ช้อนโต๊ะ
แป้งท้าวยายม่อม 1 ถ้วย
แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ
แป้งมัน 2 ถ้วย
หัวกะทิ 4 ถ้วย
น้ำตาลทราย 3 ถ้วย
น้ำลอยดอกมะลิ 1 ถ้วย
หางกะทิ 3 ถ้วย

สีธรรมที่ได้จากชาติ ได้แก่ ใบเตย ดอกคำฝอย หรือดอกอัญชัน ฯลฯ
การคั้นสีต่างๆสีเขียวใบเตย:นำใบเตยสดมาปั่นบีบเอาแต่น้ำนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง
สีเหลืองดอกคำฝอย:นำดอกคำฝอยไปแช่น้ำร้อน กรองเอาแต่น้ำ
สีม่วงดอกอัญชัน:นำดอกอัญชันมาปั่นหรือตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ
สีขาวใส:ไม่ต้องผสมสีอะไร


วิธีทำ :
1. เริ่มจากการเชื่อมน้ำเชื่อมก่อน โดยใช้น้ำเปล่า 1 ถ้วย + น้ำตาลทราย 3 ถ้วย
2. นำแป้งทั้ง 4 ชนิดมาผสมรวมกัน แล้วนวดกับหัวกะทิ โดยค่อย ๆ ใส่กะทิทีละน้อย ๆ นวดไปเรื่อย ๆ จนกะทิหมด พอให้แป้งติดหลังมือเท่านั้น
2. เมื่อนวดได้ที่แล้ว นำแป้งที่ได้ไปละลายกับหางกะทิและน้ำเชื่อม ใช้กระบวยคนไปเรื่อย ๆ จนละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
3. แยกแป้งออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ใส่ส่วนที่เป็นสีลงไป ได้แก่ สีจากน้ำใบเตย และอีกส่วนหนึ่งอาจจะไม่ใส่สีก็ได้ หรืออาจจะดัดแปลงเป็นหลายๆสีก็แบ่งแป้งออกเป็นหลายๆส่วนตามจำนวนชั้นของสีขนม
4. นำถาดไปนึ่งแล้วทาน้ำมันให้ทั่ว ใส่แป้งสีขาวประมาณ 1/2 ถ้วย แล้วนึ่งให้สุกประมาณ 5 นาที ชั้นที่ 2 ใส่สีเขียวใบเตย แล้วนึ่งอีกประมาณ 5 นาที ทำเช่นนี้ไปจนหมดแป้ง แล้วให้ชั้นสุดท้ายเป็นสีเข้มกว่าชั้นอื่น ๆ เมื่อสุกยกลงทิ้งให้เย็น แล้วตัดเป็นชิ้นตามต้องการ

การนึ่งขนมชั้น :
1. ใส่น้ำในลังถึงยกขึ้นตั้งไฟ พอน้ำเดือดให้เรียงภาชนะที่จะใส่ขนมชั้นลงไป
2. ตักแป้งขนมชั้นส่วนที่เป็นสีขาวลงไปในชั้นแรก ปิดฝานึ่งให้ประมาณ 5-7 นาที
3. หยอดแป้งชั้นที่สองซึ่งเป็นสีลงไปนึ่งต่ออีก ทำแบบนี้สลับกันจนครบตามจำนวนชั้น ซึ่งเป็นชั้นสุดท้ายปิดหน้าด้วยสีที่สวยงาม
4. เมื่อขนมชั้นสุกได้ที่แล้วก็ปิดไฟ รอให้เย็น
5. ตัดแบ่งเป็นชิ้นให้ทำเป็นรูปร่างต่างๆ อาจจะใช่พิมส์แบบต่างๆกดตัดเป้นรูปที่สวยงาม

ขนมฝอยทอง


ขนมฝอยทอง
ขนมฝอยทองเป็นขนมหวานสัญชาติโปรตุเกตุ ที่คนไทยเข้าใจผิดมานาน ว่าเป็นขนมบ้านเรา แต่ขนมฝอยทองก้เป็นขนมที่ถุกปากคนไทยเพราะความหวานอร่อยจากน้ำตาลและไข่ไก่ มาดูส่วนผสมและวิธีการทำขนมฝอยทอง

ส่วนผสม
ไข่ไก่สดใหม่ 20 ฟอง
น้ำตาลทราย 5 ถ้วย
น้ำลอยดอกมะลิ 3 ถ้วย

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมเพิ่มเติม :ไม้ปลายแหลม กรวยใบตองหรือกรวยโลหะ

วิธีทำ
1.ต่อยไข่ไก่ใส่ชาม แยกไข่ขาวไข่แดงออกจากกัน รีดเอาเยื่อออก นำไข่แดงผสมกับไข่น้ำค้างใน อัตราส่วน ไข่แดง 3 ฟอง/ไข่น้ำค้าง 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน
2.กระทะทองตั้งไฟ ใส่น้ำตาล น้ำลอยดอกมะลิ น้ำตาลละลาย พอเดือดยกลง กรองด้วยผ้าขาวบางให้สะอาด นำขึ้นตั้งไฟอีกครั้ง เคี่ยวต่อไปเรื่อยๆจนมีลักษณะข้น
3.ใส่ไข่แดงที่ผสมไว้ (ข้อ1) ลงในกรวยสำหรับโรยไข่ แล้วโรยลงในน้ำเชื่อมจนเต็มกระทะทอง วิธีการโรยให้โรยแบบวนรอบกระทะ รอให้เดือดนาน 2 นาที ใช้ไม้
ปลายแหลมตักขึ้น พับให้เป็นแพเล็กๆ จัดเรียงใสกระจาดหรือกระด้งที่ปูรองด้วยใบตอง


**หมายเหตุ**
1.ไข่น้ำค้าง คือ ไข่ขาวใสๆที่ติดค้างอยู่กับเปลือกไข่ส่วนป้านซึ่งไข่แต่ละฟองจะมีอยู่ในปริมาณที่ไม่เท่ากัน
2.ไข่ที่ทำฝอยทองควรเป็นไข่ไก่ที่สดใหม่ จะทำให้เส้นฝอยทองกลมสวย เพราะถ้าเป็นไข่เก่าไข่แดงจะเหลวเพราะมีน้ำอยู่มาก ทำให้เส้นฝอยทองขาด วิธีแก้ไข ต้องลดปริมาณไข่น้ำค้างลงแล้วเพิ่มปริมาณไข่แดง
3.เทคนิคในการโรยฝอยทอง ควรใช้ไฟที่ร้อนมากขึ้นเฉพาะตรงกลางกระทะ เพื่อให้น้ำเชื่อมมีฟองตรงกลาง เมื่อโรยไข่ ฟองน้ำเชื่อมจะดันฝอยทองลอยไปอยู่ขอบกระทะ ซึ่งช่วยให้ไข่ที่โรยใหม่ไม่ทับกันนอกจากนี้เส้นฝอยทองที่ได้ยังกลมสวย

ขนมหยกมณี

ขนมหยกมณี
ขนมหยกมณีเป็นขนมที่ทำจากเม็ดสาคู และปัจจุบันมีสาคูสีเขียว และสีอื่นๆ ขาย ถ้าใช้สาคูสีเขียวไม่ต้องแช่ด้วยน้ำใบเตยถ้าเป็นสีขาวจึงจะแช่ด้วยน้ำใบเตย ในระหว่างการทำถ้าสาคูยังไม่สุก อย่าใส่น้ำตาลทราย จะทำให้สาคูไม่สุก ควรเลือกมะพร้าวทึนทึกทีค่อนข้างอ่อน จะทำให้ขนมอร่อยขึ้น

ส่วนผสมขนมหยกมณี
สาคูเม็ดเล็ก ½ ถ้วยตวง
น้ำใบเตย 3/4 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย ½ ถ้วยตวง
มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 1 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1/4 ช้อนชา

วิธีทำขนมหยกมณี
1. ผสมมะพร้าวทึนทึกกับเกลือให้เข้ากัน นึ่งไฟกลาง 5- 10 นาที
2. ตั้งกระทะทองใส่น้ำใบเตย และน้ำตาลทราย 1/4 ถ้วยตวง เคี่ยวให้เดือด
3. ใส่เม็ดสาคูลงไป กวนพอสุกเป็นตากบเล็กน้อย ใส่น้ำตาลทรายที่เหลือลงไปกวนต่อจนสาคูสุกใส
4. เทขนมที่สุกแล้วลงในมะพร้าวที่นึ่งแล้วในข้อ 1.
5. ตัดเป็นชิ้นพอคำ คลุกกับมะพร้าวให้ทั่วใส่ถ้วยเล็กๆ

ขนมหม้อแกง ขนมไทย


ขนมหม้อแกง ขนมไทย
ขนมหม้อแกงเป็นขนมไทยที่เราเห็นขายๆ กันอยู่ จะมีหลายชนิด เช่นหม้อแกงไข่ หม้อแกงถั่ว หม้อแกงเผือก หม้อแกงเม็ดบัว  ซึ่งวิธีการทำจะคล้ายๆ กับหม้อแกงถั่ว แตกต่างกันเพียง ถ้าจะทำหม้อแกงเผือกก็ใส่เผือก ถั่ว หรือเม็ดบัว แต่จะต้องทำให้สุกก่อน และถ้าต้องการให้ขนมมีกลิ่นหอมควรเลือกใช้น้ำตาลมะพร้าว

ส่วนผสมขนมหม้อแกง
ไขเป็ดหรือไข่ไก่ 3 ฟอง
 หัวกะทิ 1/2 ถ้วยตวง
น้ำตาลมะพร้าว 1/2 ถ้วยตวง
ใบเตย 5 ใบ
ถั่วเขียวเลาะเปลือกต้มสุกบดละเอียด 1/2 ถ้วยตวง
ขนมหม้อแกง ขนมไทย

วิธีทำขนมหม้อแกง ขนมไทย
1. ผสมไข่ หัวกะทิ น้ำตาลมะพร้าว เข้าด้วยกัน
2. ขยำด้วยใบเตยจนขึ้นฟู ประมาณ 10 นาที กรองด้วยกระชอนใส่ถั่วคนให้เข้ากัน
3. เทใส่ถาดขนาด 4 1/2 นิ้ว x 4 1/2 นิ้ว
4. อบในเตาอบอุณหภูมิ 150- 170 องศาเซลเชียส ประมาณ 30 นาทีหรือ  จนขนมสุก เอาออกจากเตา พักไว้ให้เย็น
 5. ตัดขนมหม้อแกงเป็นชิ้นๆ เสิร์ฟ

หมายเหตุ
- สามารถเพิ่มเนื้อเผือก หรือเม็ดบัวลงไป จะได้เป็นหม้อแกงเผือก หรือหม้อแกง
เม็ดบัว ถ้าใช้เฉพาะไข่อย่างเดียว เรียกขนมหม้อแกงไข่
- ในการทำหม้อแกงเผีอก ใช้เผือกนึ่งสุก บดละเอียด 1/2 ถ้วยตวง

ขนมหม้อแกง ขนมไทย

ขนมปลากริมไข่เต่า ขนมไทยโบราณ


ขนมปลากริมไข่เต่านี้เป็นขนมไทยโบราณ เดิมเรียกว่า ขนมแชงมา และขนมจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนเค็มและส่วนหวาน ซึ่งเรียกว่า ตัวขนมและหน้าขนม

ส่วนผสมแป้ง
แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
แป้งท้าวยายม่อม 1 ช้อนโต๊ะ
แป้งมัน 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง

ส่วนผสมแป้งนวล
แป้งมัน 2 ช้อนโต๊ะ
แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ

ส่วนผสมตัวขนม
หางกะทิ 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลมะพร้าว ½ ถ้วยตวง
แป้งท้าวยายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำสำหรับละลายแป้ง ¼ ถ้วยตวง
ใบเตยตัดท่อนยาว 3 นิ้ว 2 ใบ

วิธีทำ
1. ผสมแป้งนวลในถ้วยพักไว้ สำหรับเวลาปั้นไม่ให้แป้งติดมือ
2. ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งท้าว แป้งมัน ลงในกระทะทอง ค่อยๆ ใส่น้ำทีละน้อย จนหมดคนให้ส่วนผสมเข้ากัน
3. นำไปตั้งไฟกวนด้วยไฟกลางค่อนข้างอ่อน จนแป้งเป็นก้อน เอาใส่ในถาดที่โรยแป้งนวล (เคล็ดลับ การกวนแป้งอย่าให้สุกมาก แป้งจะแข็งนวดยาก ต้องกวนให้มีความดิบอยู่บ้าง ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ แป้งจะสวย)
4. พอแป้งอุ่นนวดให้เนียน ถ้าแป้งติดมือหรือติดภาชนะให้ใช้แป้งนวลโรย
5. ปั้นแป้งเป็นตัวยาวๆ หัวรีท้ายรี ขนาดเล็กๆ ซึ่งครึ่งหนึ่งใช้ทำตัวขนม อีกครึ่งปั้นเป็นก้อนกลมเล็กน้อยคล้ายไข่เต่า สำหรับทำหน้าขนม

วิธีทำตัวขนม
1. นำหางกะทิ น้ำตาลมะพร้าว ใบเตยใส่หม้อ ตั้งไฟพอเดือด
2. ขณะที่หางกะทิเดือด ค่อยๆ เทแป้งท้าวยายม่อมละลายน้ำลงไป
3. ใส่ตัวแป้งที่ลวงแล้วลงไป คนให้เข้ากัน ยกลงพักไว้

วิธีทำหน้าขนม
1. นำหัวกะทิ เกลือ ใบเตย ใส่หม้อตั้งไฟ ให้เดือด
2. ใส่ตัวแป้งที่ลวกแล้วอีกส่วนหนึ่งลงไปคนให้เข้ากัน พอเดือดยกลง เมื่อจะเสิร์ฟ ตักขนมทั้ง 2 ชนิด ใส่ในถ้วยเดียวกัน  ถ้าคนรับประทานชอบหวาน ให้ใส่ตัวขนมมากๆ ถ้าชอบเค็มใส่หน้ามากๆ

กล้วยบวชชี



กล้วยบวชชี
กล้วยบวชชีเป็นขนมไทยพื้นบ้านที่หากินได้ง่ายๆ เราสามารถทำกินเองที่บ้านได้ไม่ยากเช่นกัน วิธีการก็ง่ายๆ ดังนี้

ส่วนผสม
กล้วยน้ำว้าสุกพอห่ามๆ 1 หวี
หัวกะทิ 1 ถ้วย
หางกะทิ 1 1/2 ถ้วย
ตาลทราย 1/2 ถ้วย
งาขาวคั่วบุบพอแตก 1 ช้อนโต๊ะ
ข้าวโพดต้มสุกหั่นบางๆ 1/2 ถ้วย
เกลีอป่น 1 ช้อนชา
ใบเตย 3 ใบ

วิธีทำกล้วยบวชชี
1. ต้มกล้วยทั้งเปลือกให้สุกประมาณ 20 นาที
2. ใส่หางกะทิลงในกระทะทอง ใส่ใบเตยที่หั่นเป็นท่อนๆ ใช้ไฟปานกลาง ต้มจนเดีอด
3. ปอกเปลือกกล้วยที่ต้มแล้ว ตัดให้เป็น 4 ชิ้น/ลูก จากนั้นนำไปใส่ลงในหม้อที่ต้มหางกะทิ ต้มต่อใช้เวลาประมาณ 5 นาที
4. ใส่น้ำตาลทรายลงไป คนให้น้ำตาลทรายละลาย ต้มต่อให้เดือด
5. เติมหัวกะทิ เกลือลงไป คนให้เข้ากัน ยกลงจากเตา
6. ตักกล้วยบวชชีใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยงาคั่ว ใส่ข้า้วโพดหั่นลงไป

***เคล็ดลับการทำกล้วยบวชชี
-การทำกล้วยบวชชีนั้น ต้องต้มกล้วยทั้งเปลือกก่อน กล้วยจะได้ไม่ดำ ทำให้แลดูน่ากิน
-งาที่จะใช้โรยหน้ากล้วยบวชชีนั้น จะเลือกใช้งาขาวหรืองาดำก็ได้ แต่คั่วแล้วให้บุบพอแตก งาจะได้หอมชวนกิน และกรอบอร่อย
-หลังจากใส่หัวกะทิแล้วต้องรีบยกลงจากเตาทันที จะทำให้กะทิขาวสวย น่ากิน

ซ่าหริ่ม

ซ่าหริ่ม
ซ่าหริ่มซ่าหริ่มเป็นขนมไทยรสชาติหอมมัน อร่อยด้วยเส้นที่เหนียวนุ่ม ต้องมาจากกะทิที่คั้นสดตามแบบขนมไทย

ส่วนผสม•แป้งซาหริ่ม 1 ถ้วย
•น้ำใบเตยคั้นข้นๆ 1/2 ถ้วย
•น้ำเปล่า 5 ถ้วย
•พิมพ์ สำหรับ กด

ส่วนผสมน้ำกะทิ•หัวกะทิ 2 ถ้วย
•น้ำตาลทราย 2 ถ้วย
•ผสมน้ำตาล หัวกะทิ คนจนน้ำตาลละลาย กรองด้วยผ้าขาวบาง นำไปอบควันเทียนให้หอม


วิธี ทำ
ผสมแป้งซ่าหริ่ม น้ำ น้ำใบเตย เข้าด้วยกัน กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่
กระทะทอง ตั้งไฟกลาง กวนแป้งสุก รีบตักใส่พิมพ์ กดเป็นเส้นลงในน้ำเย็นจน
หมด เทใส่ผ้าขาวบาง ทำให้สะเด็ดน้ำ ใส่น้ำแข็งพักไว้

เวลากินให้ ตักซ่าหริ่มใส่ถ้วย ใส่น้ำกะทิ น้ำแข็ง เสิร์ฟได้ทันที

มะพร้าวแก้ว

มะพร้าวแก้ว
มะพร้าว แก้ว
มะพร้าวแก้วเป็นขนมไทยที่หลายๆคนอาจจะไม่คุ้นเคย ส่วนประกอบหลักๆมาจากมะพร้าวทึนทึกและน้ำตาล เป็นขนมไทยที่มีรสหวานหอม อร่อย
ส่วนผสม
มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น 2 ถ้วย
น้ำตาลทรายขาว 1 ถ้วย
น้ำลอยดอกมะลิ 1/4 ถ้วย
สีผสมอาหาร

สิ่งที่ต้องเตรียม
ช้อน, ถาด

วิธีทำ
1. กระทะทองตั้งไฟ ใส่น้ำตาล น้ำลอยดอกมะลิ จนน้ำเชื่อมเริ่มเหนียว
เป็นยางมะตูม ใส่สีผสมอาหารตามต้องการ คนให้เข้ากันทั่ว
2. ใส่มะพร้าวทึนทึก คนจนน้ำเชื่อมจับเส้นมะพร้าว ยกลง ใช้ช้อนเล็กๆ 2 คัน
ตักมะพร้าวตะล่อมให้เป็นก้อนเล็กๆ ซึ่งลมจนแห้ง เก็บใส่กล่อง อบด้วยดอกมะลิสดอีกครั้ง

**หมายเหต
1. มะพร้าวแก้วถ้าใส่สีต้องให้มีสีอ่อนๆ หอมกลิ่นดอกไม้ ผิวนอก
แห้งแต่ภายในยังมีความชุ่มน้ำเชื่อม รสหวานมันและหอม
2. การใส่สีต้องใส่ขณะน้ำเชื่อมร้อน คนให้สีเข้ากันทั่ว ใส่มะพร้าวทึนทึก
3. มะพร้าวทึนทึก ถ้าอ่อนเกินไปจะดูดน้ำเชื่อมได้น้อยก็ต้องเพิ่มปริมาณมะพร้าว แต่ถ้าแก่เกินไปก็ดูดน้ำเชื่อมมาก น้ำเชื่อมจะแห้งก็ต้องเพิ่มน้ำตาล

ขนมดอกโสน ขนมไทย


โสน มีหลายชื่อ คือ โสนหิน โกนกินดอก โสนน้ำ โสนหนอง ภาคเหนือเรียก ผักฮองแฮง  โสนเป็นไม้สกุลเดียวกับแค พบในพื้นที่น้ำขังสูงประมาณ 1-4 เมตร ออกดอกเป็นช่อที่โคนกิ่งและปลายยอดคล้ายดอกถั่ว ดอกสีเหลือง โสนมีรสจืดและมัน ดอกโสน 100 กรัม ให้พลังงาน 400 กิโลแคลอรี มีเส้นใย 309 กรัมแคลเซียม 51 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 56 มิลลิกรัม เหล็ก 8.2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 336 I.U. วิตามินบีหนึ่ง 0.26 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.40 มิลลิกรัม ไนอะซิน 2.8 มิลลิกรัม วิตามินซี 24 มิลลิกรัม
ดอกโสนนั้นนิยมนำดอกมาใช้ทำเป็นอหาร เช่น แกงส้ม ยำ ทอดใส่ไข่ หรือลวกน้ำพริกจิ้ม แต่รู้กันหรือเปล่าว่า นอกจากอาหารคาวแล้ว ยังนำมาทำเป็นขนมได้อีกด้วย

ขนมดอกโสน ขนมไทย
ส่วนผสม
ดอกโสน 2 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง
หัวกะทิ ¾ ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย ¾ ถ้วยตวง
เกลือป่น ½ ช้อนชา
มะพร้าวทึนทึก 1 ถ้วยตวง

วิธีทำขนมดอกโสน ขนมไทย
1. เลือกดอกโสนที่บาน เด็ดก้านออกล้างให้สะอาด พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
2.ผสมหัวกะทิกับน้ำตาลทราย เกลือป่น ใส่หม้อตั้งไฟกลางพอน้ำตาลทรายละลายยกลง พักไว้ให้เย็น
3.ร่อนแป้งข้าวเจ้าลงในอ่างผสมที่มีดอกโสน เคล้าเบาๆ พรมน้ำกะทิเคล้าเบาๆ สลับกับร่อนแป้งข้าวเจ้าจนหมดใส่มะพร้าวทึนทึก (สังเกตแป้งจะจับติดกับดอกโสนสม่ำเสมอเมื่อแป้งมีความชื้้นปานกลาง)
4. นำไปนึ่งในลังถึง โดยปูผ้าขาวบางลง เทขนมลงตรงกลางผ้า นึ่งด้วยไฟแรงและน้ำเดือดพล่านประมาณ 12 นาที
5.นึ่งมะพร้าวทึนทึกนาน 5-10 นาที และแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่ 1 ใส่ในขนมดอกโสน และส่วนที่ 2 สำหรับโรยหน้าขนม)
6.จัดใส่จานเสิร์ฟกับมะพร้าวทึนทึก โรยหน้าด้วยน้ำตาลทรายและเกลือป่น เสิร์ฟ
ขนมดอกโสน ขนมไทย

วิธีทำขนมเล็บมือนาง ขนมไทย


วิธีทำขนมเล็บมือนาง  ขนมไทย
ขนมชนิดนี้เป็นขนมไทยที่มีลักษณะแหลมคล้ายเล็บมือของนางรำ มีหลายสี แต่ต้องเป็นสีอ่อนๆ ไม่ฉูดฉาด เรามาดูกันว่าวิธีการทำขนมไทยชนิดนี้เป็นอย่างไร ทำอย่างไร มีส่วนผสมอะไรบ้าง
ส่วนผสมตัวขนมเล็บมือนาง 
แปังข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง 

ขนมขี้หนู ขนมไทย

ขนมขี้หนู
ขนมขี้หนู ขนมไทย ขนมนี้มีหลายชื่อ เช่น ขนมขี้หนู ขนมทราย และขนมละอองฟ้า เทคนิคสำคัญที่สุดในการทำขนมขี้หนู คือ ขณะใส่น้ำเชื่อมลงในแป้ง โรยน้ำเชื่อมให้ทั่วแป้ง และห้ามคนโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ขนมเสียไม่ฟู และการอบขนมด้วยควันเทียน นอกจากจะอบขณะอบขนมเย็นแล้วยังสามารถใส่ดอกมะลิ หรือกุหลาบมอญลงไปด้วยก็ได้หรือถ้าต้องการจะใส่สีต่างๆ ให้หยดสีลงไปในน้ำเชื่อม

ส่วนผสมตัวแป้งขนมขี้หนู ขนมไทย
แป้งข้าวเจ้า 1 1/4 ถ้วยตวง
กะทิ 1/4 ถ้วยตวง
น้ำเชื่อม
น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
น้ำสะอาด 12 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย า1ถ้วยตวง
สีตามชอบ

วิธีทำขนมขี้หนู ขนมไทย
1 เคี่ยวน้ำตาลทรายกับน้ำลอยดอกมะลิ ให้เหลือ 3/4 ถ้วย ก่อน ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
2 เทแป้งใส่ชาม ค่อยๆ เทกะทิลงในเนื้อแป้งทีละน้อย คนให้เข้ากันจนได้เนี้อแป้ง ออกมามีลักษณะเปียกหมาดๆ
3 ยีแป้งด้วยที่ร่อนแปัง 2-3 ครั้ง บนผ้าขาวบาง.
4. นำไปนึ่ง ใช้ไฟแรง นึ่งประมาณ 25 นาที
5. นำแป้งที่นึ่งสุกใส่ภาชนะ ค่อยๆ เทน้ำเชื่อมราดลงให้ทั่วเนื้อแป้งห้ามคนทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที
6. ใช้ส้อม ค่อยๆ เกลี่ยแป้งให้ฟูขึ้น นำไปอบควันเทียน
7. โรยหน้าด้วยมะพร้าวทึนทึกขูดฝอยคลุกเกลือ เพียงเท่านี้ก็จะได้ขนมขี้หนู ขนมแบบไทยๆ สีสันสดใส และแสนอร่อยไว้ทั้งรับประทานเองหรือจำหน่ายเป็นรายได้เสริม
แปังท้าวยายม่อม 1 ช้อนโต๊ะ 
แป้งมัน 1ช้อนโต๊ะ 
น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง 

ส่วนผสมอี่น ๆ
มะพร้าวขูดขาว 2 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
งาดำงาขาวคั่ว 2 ช้อนโตะ
น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 1/2 ถ้วยตวง

วิธีทำขนมเล็บมือนาง  ขนมไทย
1. คลุกมะพร้าวกับเกลือเข้าด้วยกัน นำไปนึ่งไฟกลาง 5- 10 นาที
2. ผสมแปังนวลเข้าด้วยกันพักไว้
3. ผสมแปังทั้ง 3 ชนิด เข้าด้วยกัน ค่อยๆ ใส่น้ำทีละน้อยลงไปจนหมด ใส่กระทะทองไว้
4. นำไปกวนด้วยไฟกลาง จนแป้งจับตัวเป็นก้อน ยกลงใส่ในภาชนะที่มีแป้งนวล นวดให้แป้งเนียนเข้ากันดี 
ใส่สีอ่อนๆ ตามชอบ ปั้นให้เป็นตัวขนมยาวประมาณครึ่งนิ้ว หัวท้ายแหลม พักไว้
5. ตั้งกระทะใส่น้ำปูนใส พอน้ำเดือดให้นำตัวขนมที่เตรียมไว้มาต้ม พอขนมลอยขึ้นก็ตักใส่น้ำเย็น เทใส่กระชอนพักให้สะเด็ดน้ำ คลุกด้วยมะพร้าวที่เตรียมไว้
 6. ผสมงาทั้ง 2 ชนิด และน้ำตาลทรายเข้าด้วยกัน นำไปบดในครกพอเข้ากัน พักไว้ พักไว้
7. นำหัวกะทิตั้งไฟ 2 นาที ยกลง
8. เมี่อจะเสิร์ฟ ตักขนมเล็บมือนางใส่จาน ราดหัวกะทิ โรยงาที่เตรียมไว้ เสิร์ฟได้ทันที

ทับทิมกรอบ

สูตรทับทิมกรอบ


ทับทิมกรอบนั้นนิยมใช้แห้วทำเนื่องจากจะมีความหวานมันในตัว แต่ถ้าหาแห้วสดไม่ได้ จะใช้แห้วกระป๋องแทนก็ได้ นอกจากแห้วแล้ว แป้งท้าวยายม่อมเป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้แห้งติดแล้วได้นาน ขณะที่นำแล้วไปต้ม อย่าให้น้ำเดือดมาก แป้งจะหลุดหมด สีที่ใช้นอกจากจะใช้น้ำหวานสีแดงแล้ว จะใช้สีเหลืองหรือสีเขียวก็ได้ วิธีทำเช่นเดียวกัน


ส่วนผสมทับทิมกรอบ
1.แห้วจีนดิบ หั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า หรือแห้วกระป๋อง 1 ถ้วยตวง
2.น้ำหวานสีแดง 1/2 ถ้วยตวง
3.แป้งมัน 1 ถ้วยตวง
4.แป้งท้าวยายม่อม ป่นละเอียด 1/4 ถ้วยตวง


ส่วนผสมน้ำเชื่อมสำหรับทับทิมกรอบ
1.น้ำลอยดอกมะลิ 1 ถ้วยตวง
2.น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง

ส่วนผสมน้ำกะทิทับทิมกรอบ
1.หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
2.เกลือป่น 1 ½ ถ้วยตวง
3.ขนุนหั่นเล็กๆ สั้นๆ ¼ ถ้วยตวง

วิธีทำทับทิมกรอบ
1. แช่แห้วในน้ำหวานสีแดง พักไว้ประมาณ 30 นาที
2. ผสมแป้งมันกับแป้งท้าวยายม่อม ให้เข้ากัน
3. กรองแห้วด้วยกระชอนให้สะเด็ดน้ำ นำไปคลุกในแป้งข้อ 2. ให้ทั่ว พักไว้ 5- 10 นาที
4. เมื่อน้ำต้มพอเดือด นำแห้วที่คลุกแป้งแล้วลงต้มพอสุกลอยตักขึ้น พักไว้ในน้ำ เย็น
5. ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ แช่ในน้ำเชื่อม

วิธีทำน้ำเชื่อมทับทิมกรอบ

1.ผสมน้ำลอยดอกมะลิกับน้ำตาลทราย ตั้งไฟกลาง เคี่ยว 5 นาที ใส่ขนุน
2.เคี่ยวต่ออีก 5 นาที ยกลงทิ้งให้เย็น นำไปอบควันเทียน 20 - 30 นาที

วิธีทำน้ำกะทิทับทิมกรอบ1.ผสมหัวกะทิกับเกลือใสหม้อตั้งไฟกลาง ประมาณ 2 นาที ยกลง
2.เมื่อจะเสิร์ฟตักทับทิมใส่ถ้วย ใส่น้ำเชื่อม น้ำแข็งก้อนเล็กๆ ราดด้วยน้ำกะทิ นอกจากจะนิยมใส่ขนุนลงไปแล้ว ยังนิยมใส่มะพร้าวกะทิลงไปด้วย ทำให้รสชาติอร่อยยิ่งขึ้น

ขนมโคกะทิสด ขนมไทย

ขนมโคกะทิสด ขนมไทย
เป็นขนมโบราณที่ไม่ค่อยเห็น การอบไส้ขนมทุกชนิดด้วยควันเทียน ต้องให้ขนมเย็นก่อนเสมอจุดสำคัญของขนมนี้คือกะทิต้องขาวสวย เหมือนกะทิสด น้ำกะทิจะมีรสเค็มหวานเล็กน้อย สมัยโบราณทำเฉพาะสีขาว แต่ปัจจุบันทำเป็นสีต่างๆ เพื่อให้ชวนรับประทาน

ส่วนผสมไส้ขนมขนมโคกะทิสด ขนมไทย
มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลมะพร้าว 1/2 ถ้วยตวง
น้ำเปล่า ¼ ถ้วยตวง

ส่วนผสมน้ำกะทิ
หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1 ½ ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1 ช้อนชา

ส่วนผสมแป้ง
แป้งข้าวเหนียว 1 ½ ถ้วยตวง
น้ำร้อน ½ ถ้วยตวง

วิธีทำขนมโคกะทิสด ขนมไทย
1. นวดแปังข้าวเหนียวกับน้ำร้อน ให้แป้งเนียนและนุ่ม ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมคร พักไว้
2. ผสมน้ำตาลมะพร้าวกับน้ำเปล่า พอน้ำตาลละลายใส่มะพร้าว กวนให้เข้ากันตั้งไฟกลางค่อนข้างอ่อน กวนประมาณ 5 นาที หรือจนกว่าไส้ขนมจะเเห้ง
3. ปั้นเป็นกลมๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เชนติเมตร อบควันเทียน 20-30 นาที
4. แผ่แป้งที่ปั้นไว้แล้วให้บาง วางไส้ตรงกลางหุ้มให้มิด คลึงเป็นก้อนกลมๆ
5. ต้มน้ำให้เดือด นำขนมที่ใส่ไส้แล้วลงต้มให้สุก พอลอย ตักขึ้นผ่านน้ำเย็นเพื่อป้องกันไม่ให้แป้งติดกัน
6. ผสมหัวกะทิ แป้งข้าวเจ้า เกลือป่น น้ำตาลทราย ใส่หม้อ คนให้แป้งละลายตั้งไฟกลาง คนไปเรื่อยๆ พอเดือดเล็กน้อย หรือควันขึ้นรีบยกลงทันที
7. ตักขนมโคกะทิสดใส่ถ้วย เมื่อจะรับประทาน ราดหน้าด้วยน้ำกะทิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น