วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ > หน่วยแสดงผล (Output Unit)

หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  1. หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) 
    หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่
    จอภาพ (Monitor)
    อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) 


  2. หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) 
    หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น

    เครื่องพิมพ์ (Printer) 

    Inkjet PrinterThermal printer
    เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter)



การเลือกซื้อ ปริ้นเตอร์ ให้เหมาะสมกับงาน
ในการเลือกซื้อพรินเตอร์ควรคำนึงถึงประโยชน์สูงสุด ให้เกิดความคุ้มค่ากับเงิน สิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือการใช้งานเป็นหลักว่าผู้ใช้ต้องการพรินเตอร์ไปใช้งานประเภทใดเป็นส่วนใหญ่
เครื่องปริ้นเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ต้องทำงานรวมกับคอมพิวเตอร์  โดยการรับคำสั่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในการพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ออกมาในรูปเอกสารเครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้งานโดยทั่วไป  คือ  เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์  เนื่องจากสามารถพิมพ์เอกสารได้ในปริมาณมาก ๆ ด้วยความเร็วสูง  และมีต้นทุนการพิมพ์แต่ละแผ่นถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดอื่น  การพิมพ์จะต้องพิมพ์ลงกระดาษเพื่อเป็นลายลักษณ์อักษร

ประโยชน์ของเครื่องปริ้นเตอร์
                1. เพื่อสะดวกในการจัดทำเอกสาร
                 2. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
                1.  เปิดฝาเครื่องด้านหน้า  โยการดังฝาเครื่องเข้าตัว
                2.  นำตลับผงหมึกออกจากถุง  และกระดาษห่อตลับหมึก
                3.  ใช้มือจับตลับผงหมึก  2  ด้าน  แล้วเขย่าไปด้านซ้าย-ขวาเบา ๆ เพื่อให้หมึกกระจายทั่ว        ตลับให้เท่า ๆ กัน
                4.  ใส่ตลับผงหมึกลงในเครื่อง  โดยเลื่อนตลับเข้าไปในเครื่องจนได้ยินเสียงล็อคของตลับผง                 หมึกเข้ากับตัวเครื่อง
                5.  ปิดฝาเครื่องด้านหน้า  ตรวจสอบให้แน่ใจว่าปิดฝาเครื่องสนิทดีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด        ความขัดข้องเวลาพิมพ์งาน

ขั้นตอนการสั่งพิมพ์เอกสาร
มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
  1. จากเมนูคำสั่ง File > Print….หรือใช้คำสั่ง  Ctrl  +  P
  2.  จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์  Print  ขึ้นมาบนหน้จอ  ให้ลือกชื่องของเครื่องพิมพ์ในช่อง  Name  ให้ตรงกับเครื่องพิมพ์ที่ใช้อยู่
  3. คลิกที่ปุ่มเพื่อขอดูคุณสมบัติต่าง ๆ ของเครื่องพิมพ์ที่ถูกเลือกไว้โดยจะปรากฏหน้าต่างออกมา
               
การดูแลรักษาเครื่องปริ้นเตอร์
                การบำรุงรักษาเครื่องปริ้นเตอร์ให้มีคุณภาพ  และประสิทธิภาพอยู่เสมอ  สามารถปฏิบัติงานตามวิธีการในการบำรุงรักษาเครื่อง  ดังนี้
                1.  ไม่ควรตั้งเครื่องพิมพ์ในบริเวณที่มีฝุ่น  มีความชื้น  เพราะฝุ่นละอองจะทำให้เครื่องขัดข้อง               ส่วนความชื้นอาจทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องเป็นสนิมได้
                2.  ทำความสะอาดภายนอกเครื่อง  โดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดทำความสะอาดบริเวณ                           ภายนอกเครื่อง
                3.  ทำความสะอาดภายในเครื่อง  โดยนำตลับผงหมึกออกมาจากเครื่องก่อน  แล้วจึงใช้ผ้าแห้ง               เช็ดทำความสะอาด
                4.  ควรป้องกันกระดาษติด  โดยการคลี่กระดาษก่อนเข้าเครื่องและควรใส่กระดาษลงในถาด                ป้อนกระดาษไม่ให้เกินขีดจำกัดที่กำหนดไว้ในถาดป้อนกระดาษ
                5.  ควรปิดเครื่องหลังเลิกใช้งาน  ป้องกันเพื่อไม่ให้เครื่องร้อน
   ข้อด ของ Dot Matrix คือ หมึกแบบผ้านั้นราคาถูกมากที่สุดเมื่อคิดราคาต่ออัน สามารถพิมพ์สำเนาได้ในตัวเลย สามารถทำงานกับโปรแกรมเก่าๆได้ 

     ข้อเสีย ที่เห็นได้ชัดคือ ทำงานได้ช้าเมื่อเทียบกับแบบอื่นๆ และราคาไม่ได้ถูกเลยในตอนนี้ อาจเพราะว่าไม่ค่อยมีการผลิตแล้ว เพราะว่าคนส่วนใหญ่มักไม่เลือกรุ่นนี้ แม้ว่ารุ่นนี้จะมีแบบสีเช่นกัน แต่ว่าสีไม่สดและสีไม่สวยเหมือนรุ่นอื่นๆ การต่อรวมกับ Network รุ่นพวกนี้มักจะทำไม่ได้ แต่สามารถต่ออุปกรณ์เสริมเพื่อให้ทำงานผ่าน Network ได้ และข้อสำคัญคือ หยาบมากเมื่อเทียบกับแบบอื่นๆ เพราะว่าเข็มที่พิมพ์นั้นมีขนาดใหญ่ ทำให้อักษรไม่สวย และเมื่อพิมพ์ภาพก็ไม่สวยเช่นกัน 

ความรู้เรื่อง Printer

2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)
        เครื่องพิมพ์พ่นหมึก เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพการพิมพ์ที่ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ โดยสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่งกันมาก ๆ รวมไปถึง พิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์ คมชัดว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นหมึก ใช้ในการพิมพ์ก็คือ การพ่นหมึกหยดเล็ก ๆ ไปที่กระดาษ หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้ว เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพ ตามความต้องการ
        เครื่องพิมพ์พ่นหมึกมีความเร็วในการพิมพ์ มากว่าแบบดอตแมทริกซ์ มีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการ พิมพ์เป็น PPM (Page Per Minute) ซึ่งเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์มาก อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการพิมพ์ กราฟิกหรือตัวอักษรที่มีรูปแบบในเวลาเดียวกัน เครื่องพิมพ์พ่นหมึกจะทำงานได้ช้าลง กระดาษที่ใช้กับเครื่อง พิมพ์พ่นหมึกจะเป็นขนาด 8.5 X 11 นิ้ว หรือ A4 ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ ทั้งแนวตั้งที่เรียกว่า "พอร์ทเทรต" (Portrait) และแนวนอนที่เรียกว่า "แลนด์สเคป" (Landscape) โดยกระดาษจะถูกวางเรียงซ้อนกัน อยู่ในถาด และถูกป้อน เข้าไปในเครื่องพิมพ์ที่ละแผ่นเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร
3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
        เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่สามารถทำงาน ได้เร็วกว่า โดยเครื่องพิพม์เลเซอร์ สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ทุกรูปแบบและทุกขนาดรวมทั้งสามารถพิมพ์งาน กราฟิกที่คมชัดได้ด้วย เครื่องเลเซอร์ใช้เทคโนโลยี เดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบน กระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษรบนกระดาษ
        หน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะเป็น PPM เช่นเดียวกับ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกในปัจจุบัน ความสามารถ ในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์คุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้หลายร้อยหน้าต่อนาที ซึ่งเหมาะ กับงานในองค์กรขนาดใหญ่ จะนำไปใช้งานในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ส่วนคุณภาพงานพิมพ์ของเครื่องจะวัด ด้วยความละเอียดในการสร้างจุดลงในกระดาษ ขนาด 1 ตารางนิ้ว เช่นความละเอียดที่ 300 dpi หรือ 600 dpi หรือ 1200 dpi เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ก็จะมีทั้งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบ ขวา-ดำ และเครื่องพิมพ์ เลเซอร์แบบสี ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบสีจะมีราคาแพงมาก แต่งานพิมพ์ที่ได้ออกมาก็มีคุณภาพสูง
4. พล็อตเตอร์ (plotter) 
      พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษเหมาะสำหรับงาน เกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม (เขียนลงบนกระดาษไข) และงานตกแต่งภายใน สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิก
      พล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษ โดยสามารถใช้ปากกาได้ 6-8 สี ความเร็วในการทำงานของ พล็อตเตอร์มีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inches Per Secon : IPS) ซึ่งหมายถึงจำนวนนิ้วที่พล็อตเตอร์สามารถ เลื่อนปากกาไปบนกระดาษ
เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ขาว-ดำ (Monochome Laser Printer) และเครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์สี (Color Laser Printer)
Brother HL-5150D
Epson AcuLaser C3000N
HP Color LaserJet 2550L
Fuji Xerox DocuPrint C525A
Konica Minolta PagePro 1300W
ในด้านความละเอียดของตัวเครื่องก็ดูที่ความเหมาะสมกับงาน แนะนำว่าพริ้นเตอร์เลเซอร์เหมาะมากครับสำหรับการใช้งานในสำนักงาน ดูจะไม่ เหมาะเท่าไรนักถ้าจะซื้อมาใช้งานส่วนตัวเพราะโดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องประเภทนี้เน้นสนับสนุนระบบเน็ทเวิร์กเป็นหลักครับ Laser พริ้นเตอร์ก็ยังไม่ทั้งขาว-ดำ และสี ในด้านความละเอียดของเครื่อง Laser มีความละเอียดทั้งแต่ 600 x 600 จุดต่อตารางนิ้ว ไปจนถึง 1,200 x 1,200 จุดต่อตารางนิ้ว ความเร็วในการ พิมพ์ก็มีส่วนสำคัญครับ ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่อง Laser ก็สามารถพิมพ์ในโหมดขาว - ดำได้ตั้งแต่ 10 แผ่นต่อนาทีขึ้นไป ส่วนโหมดสีตั้งแต่ 6 แผ่นต่อ นาทีขึ้นไป ต่อมาก็มาดูที่หน่วยความจำของเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ส่วนใหญ่ใน Laser พริ้นเตอร์จะติดตั้งหน่วยความจำตั้งแต่ 8 MB, 16 MB, 32 MB ไปจนถึง 96 MB แต่ก็สามารถเพิ่มเติมได้อีก ยิ่งมีหน่วยความจำมากเท่าไหร่ก็จะทำให้เครื่องพิมพ์สามารถประมวลผล และรับงานในปริมาณที่มาก ล้วพิมพ์งานออกมาได้ รวดเร็วขึ้น ลำดับต่อมาเป็นการเชื่อมต่อมีตั้งแต่ Parallel, USB 1.1/2.0, Ethernet ในส่วนนี้แล้วแต่ผู้ใช้ครับ แต่ขอแนะนำให้เลือกใช้ที่เป็นการเชื่อมต่อแบบ USB 1.1/2.0 ดีกว่าครับ เพราะจะทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็วกว่าแบบอื่น และถ้าต้องการใช้งานในระบบเครือข่าย (LAN) ขั้นก็ควรจะมีพอร์ตเชื่อมต่อแบบ Ethernet 10/100 Base-T/TX ด้วยครับ แต่เราจะใช้การเชื่อมต่อแบบ USB 1.1/2.0 เพื่อให้เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ของเราเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหึง แล้วทำงานแชร์ทรัพยากรเครื่อง ให้เครื่องลูกข่าย (Client) ให้สามารถใช้งานเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ตัวนั้นก็ได้ครับ ซึ่งมีข้อเสียคือในการทำงานจำเป็นทีจะต้องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ไว้ตลอดเวลา จึงจะสามารถสั่งพิมพ์งานได้ แต่ถ้าเป็นการเชื่อมต่อแบบEthernet ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องนำเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ มาเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่สามารถนำเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ เครื่องที่มีมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ Ethernet นั้นไปเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายด้วยสาย LAN ได้ทันที เสมือนการทำงานว่าเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ เครื่องนั้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั่นเองครับ ในการทำงานก็สามารถสั่งพิมพ์งานได้ทันที สะดวกและรวดเร็วประหยัดพลังงานมากกว่าแบบแรกครับ
โทนเนอร์ก็มีส่วนสำคัญครับ ถ้าราคาโทนเนอร์แพงก็ไม่คุ้มค่าที่จะใช้งานต้องระมัดระวังในส่วนนี้ด้วย กระดาษที่ใช้กับเครื่อง Laser สามารถใช้ กระดาษขนาด A4 บางรุ่นก็สามารถพิมพ์กระดาษขนาด A3 ได้ ส่วนถาดใส่กระดาษใน Laser บางรุ่นสามารถเพิ่มถาดกระดาษได้ เหมาะสำหรับงานที่มี ปริมาณเอกสารมาก ไม่ต้องกังวลว่าปริมาณกระดาษจะพอไหม ในส่วนการใช้งาน Laser พริ้นเตอร์แบบขาว- ดำเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่เน้นงานเอกสารเป็นหลัก ไม่ต้องการพิมพ์รูปภาพ หรือข้อความที่เป็นสี ทำให้ได้ตัวอักษรที่คมชัดกว่าเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ Inkjet หลายเท่า ส่วน Laser พริ้นเตอร์แบบสีเหมาะสำหรับผู้ใช้ ที่เน้นงานด้านรูปภาพ แต่ก็มีงานด้านเอกสารด้วย
เครื่องมัลติฟังก์ชัน (Multifunction) หรือ All-In-One (AIO) น้องใหม่ที่ออกมาพร้อมอุปกรณ์ทำงานที่ครบเครื่องทั้ง พิมพ์ สแกน ก๊อปปี้ และส่งแฟกซ์ คุ้มค่ากับราคาที่น่าลอง
ก่อนอื่นเรามาเริ่มทำความรู้จักกับอุปกรณ์นี้กันก่อน สำหรับเครื่องมัลติฟังก์ชันหรือออลอินวันจะเป็นการนำเอาความสามารถและฟังก์ชันการทำงานของ อุปกรณ์ต่อพ่วงหลัก ๆ มารวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างครบชุด ซึ่งประกอบไปด้วย เครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องแฟกซ์ แต่สำหรับ เครื่องมัลติฟังก์ชั่นในบางรุ่นอาจจะไม่ได้รวมเอาเครื่องแฟกซ์มาด้วยก็ได้ แต่หลัก ๆ อย่างไรก็สามารถพิมพ์งาน สแกน และถ่ายเอกสารได้ครับ
ส่วนการทำงานของเครื่องมัลติฟังก์ชันมีการพัฒนาในเรื่องของการทำงานให้มีการทำงานร่วมกันได้อย่างเต็มที่มากขึ้น อย่างที่เราจะเห็นได้จาก ฟังก์ชันในการถ่ายเอกสารนั่นเองซึ่งจะเป็นการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องสแกนเนอร์กับพริ้นเตอร์ นอกจากนี้ยังได้มีการเพิ่มฟังก์ชัน ในการสั่งงานบางอย่างที่จะช่วยให้การถ่ายเอกสารทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้นด้วย อย่างเช่น การย่อหรือขยายเอกสาร การทำสำเนา หรือจะเป็นการปรับ เลือกโหมดการถ่ายเอกสารสีหรือการถ่ายเอกสารขาว-ดำได้ เป็นต้น
ส่วนเครื่องมัลติฟังก์ชันที่มีแฟกซ์ในตัวเราจะสังเกตได้จากแผงควบคุมที่จะมีปุ่มสำหรับกดเลขหมายโทรศัพท์ได้ครับ สำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่เหมาะสำหรับ เครื่องมัลติฟังก์ชันนี้จะมีทั้ง กลุ่มธุรกิจองค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง โฮมออฟฟิศ และกลุ่มผู้ใช้งานตามบ้าน ซึ่งสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานตามบ้านนั้นในตอนนี้ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะทางผู้ผลิตทั้งหลายต่างก็ได้ส่งเครื่องมัลติฟังก์ชันราคาประหยัดลงมาทำตลาดกัน ซึ่งจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ สี่พันกว่าบาทเท่านั้น และเมื่อลองเทียบกันกับการซื้อพริ้นเตอร์และสแกนเนอร์แบบแยกชิ้นแล้ว จะเห็นได้ว่ามีราคาต่างกันไม่มาก แต่เมื่อดูถึงจุดเด่นของ มัลติ ฟังก์ชันที่ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งกว่า และสามารถถ่ายเอกสารทั้งสีทั้งขาว-ดำได้แล้วถือว่าเป็นตัวเลือกใหม่ที่น่าสนใจทีเดียว
หน่วยแสดงผล (Output Unit)PDFพิมพ์อีเมล
เขียนโดย man@dmin   
วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2009 เวลา 00:37 น.
หน่วยแสดงผล (Output Unit) 

ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy)
หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้นแต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไปไม่เหลือเป็นวัตถุ
ให้เก็บได้ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง 
เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่

1.1 จอภาพ (Monitor) ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วย
จุดจำนวนมาก เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (Pixel) ถ้ามีพิกเซลจำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้มองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น 
จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ 

1.1.1 จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากในปัจจุบัน ใช้หลักการยิงแสงผ่านหลอดภาพ
คล้ายกับเครื่องรับโทรทัศน์

Cathode_Ray_Tube

1.1.2 จอแอลซีดี (Liquid Crystal Display)
 นิยมใช้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เป็นจอภาพที่ใช้หลักการเรืองแสง
เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในผลึกเหลว ทำให้จอภาพมีความหนาไม่มาก น้ำหนักเบาและกินไฟน้อยกว่าจอภาพซีอาร์ที 
แต่มีราคาสูงกว่า เทคโนโลยีจอแอลซีดีในปัจจุบันจะมีสองแบบคือ Passive Matrix ซึ่งมีราคาต่ำแต่จะขาดความคมชัดและ
อาจมองไม่เห็นภาพเมื่อผู้ใช้มองจากบางมุม และ Active Matrix หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Thin File Transistor (TFT) 
จะให้ภาพที่คมชัดกว่าแต่จะมีราคาสูงกว่า ในปัจจุบันจอภาพแบบ TFT เริ่มนิยมนำมาใช้แทนจอภาพ CRT มากขึ้นเรื่อย ๆ 
เนื่องจากราคาเริ่มต่ำลง ในขณะที่มีข้อดีคือใช้เนื้อที่ในการวางน้อย น้ำหนักเบา กินไฟต่ำ และมีการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า
ออกมาน้อยมาก 

Liquid_Crystal_Display

1.2 อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) 


เป็น อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน 
อุปกรณ์ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวาง
ลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (OverHead Projector) ธรรมดา เหมือนกับอุปกรณ์นั้นเป็นแผ่นใส อุปกรณ์ฉายภาพจะ
มีข้อแตกต่างกันมากในเรื่องของกำลังแสงสว่าง เนื่องจากยิ่งมีกำลังส่องสว่างสูงภาพที่ได้ก็จะชัดเจนมากขึ้น กำลังส่องสว่างมี
หน่วยวัดค่าอยู่ 3 แบบ คือ LUX, LUMEN และ ANSI LUMEN โดยการวัดแบบ LUX จะวัดค่าความสว่างที่
จุดกึ่งกลางของภาพ จึงได้ค่าความสว่างสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 แบบ การวัดแบบ LUMEN จะแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน 
คือ บน กลางและล่าง และแต่ละส่วนจะถูกแบ่งออกเป็น 3 จุด คือ ริมซ้าย กลาง และริมขวา รวมจุดภาพทั้งหมด 9 จุด
แล้วจึงใช้ค่าเฉลี่ยของความสว่างทั้ง 9 จุด คิดออกมาเป็นค่า LUMEN ส่วนการวัดแบบ ANSI LUMEN จะมีมาตรฐาน
สูงสุด โดยใช้วิธีเดียวกับ LUMEN แต่จะกำหนดขนาดจอภาพไว้คงที่คือ 40 นิ้ว (หากไม่กำหนดการวัดค่าความสว่าง
จะสูงขึ้นเมื่อจอภาพมีขนาดเล็กลง)


DLP-Projector

1.3 อุปกรณ์เสียง (Audio Output) 



หน่วย แสดงเสียง ซึ่งประกอบขึ้นจาก

ลำโพง (Speaker) และ
computer-speaker-system-6985


การ์ดเสียง (Sound card)
sound-card-labeled



เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทำงาน หรือให้เครื่องคอมพิวเตอร์รายงานเป็นเสียงให้ทราบเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น
ไม่มีกระดาษในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
รวมทั้งสามารถเล่นเกมส์ที่มีเสียงประกอบได้อย่างสนุกสนาน โดยลำโพงจะมีหน้าที่ในการแปลง
สัญญาณจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นเสียง เช่นเดียว กับลำโพงวิทยุ ส่วน การ์ดเสียงจะเป็นแผงวงจรเพิ่มเติมที่นำมาเสียบกับช่องเสียบ
ขยายในเมนบอร์ด เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถส่งสัญญาณเสียงผ่านลำโพง รวมทั้งสามารถต่อไมโครโฟนเข้ามาที่การ์ด
เพื่อบันทึกเสียงเก็บไว้ด้วย 

เทคโนโลยีด้านเสียง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ Waveform audio หรือเรียกว่า Digital audio และ 
MIDI (Musical Instrument Digital Interface) 

2. หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) 

หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้
ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น 

2.1 เครื่องพิมพ์ (Printer) 
เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมาก และมีให้เลือกหลากหลายชนิดขึ้นกับคุณภาพและความละเอียดของการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์ 
ขนาดกระดาษสูงสุดที่สามารถพิมพ์ได้ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการพิมพ์ 

เครื่องพิมพ์สามารถแบ่งตามวิธีการพิมพ์ได้เป็นสองชนิด คือ

2.1.1 เครื่องพิมพ์ชนิดตอก (Impact printer) 
ใช้การตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติดบนกระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ 
สามารถพิมพ์สำเนา (Copy) ครั้งละหลายชุดโดยใช้กระดาษคาร์บอนวางระหว่างกระดาษแต่ละแผ่น ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์
ประเภทนี้จะมีหน่วยเป็นบรรทัดต่อวินาที (lpm-line per minute) ข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ก็คือ มีเสียงดังและคุณภาพ
งานพิมพ์ที่ได้จะไม่ดีนัก สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย คือ 

2.1.1.1 เครื่องพิมพ์อักษร (Character printer)
 
หมายถึงเครื่องพิมพ์ดีดที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งตัวอักษรเท่านั้น 
ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกสร้างขึ้นจากจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก จึงสามารถเรียกอีกอย่างว่า เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot matrix printer) 
นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ 

Character_printer
2.1.1.2 เครื่องพิมพ์บรรทัด (Line printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งบรรทัด เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานได้รวดเร็ว 
แต่จะมีราคาสูง นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ หรือเครื่องพิมพ์ที่มีผู้ใช้หลายคน 

Line_printer

2.1.2 เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Non impact printer) ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี ซึ่งทำให้พิมพ์ได้เร็วและคมชัดกว่าชนิดตอก 
พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและกราฟฟิก รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถพิมพ์กระดาษสำเนา (Copy) 
ได้ ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะมีหน่วยเป็นหน้าต่อนาที (PPM-page per minute) และสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ คือ 

2.1.2.1 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) 
ทำงานคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้า
ซึ่งจะมีผลให้โทนเนอร์ (Toner) สร้างภาพที่ต้องการและพิมพ์ภาพนั้นลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์แต่ละรุ่น
จะแตกต่างกันในด้านความเร็วและความละเอียดของ งานพิมพ์ โดยปัจจุบันสามารถพิมพ์ละเอียดสูงสุดถึง 1200 
จุดต่อนิ้ว (dot per inch หรือ dpi) 

Laser_Printer
2.1.2.2 เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (Inkjet Printer) ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กับ
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากสามารถพิมพ์สีได้ ถึงแม้จะไม่คมชัดเท่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ 
แต่ก็คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ตอก สามารถพิมพ์รูปได้คุณภาพใกล้เคียงกับภาพถ่าย และมีราคาถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ 
เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกในปัจจุบันจะมีคุณภาพในการพิมพ์ต่างกันไปตาม เทคโนโลยีการฉีดหมึกและจำนวนสีที่ใช้ 
โดยรุ่นที่มีราคาต่ำมักใช้หมึกพิมพ์สามสี คือ น้ำเงิน ( cyan) , ม่วงแดง (magenta) และเหลือง (yellow) 
ซึ่งสามารถผสมสีออกมาเป็นสีต่าง ๆ ได้ แต่จะให้คุณภาพของสีดำที่ไม่ดีนัก จึงมีเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงกว่า
ที่เพิ่มสีที่ 4 เข้าไปคือ สีดำ (black) เครื่องพิมพ์ฉีดหมึกในปัจจุบันโดย มากจะใช้สีนี้เป็นหลัก 
แต่จะมีเครื่องพิมพ์อีกระดับที่เรียกว่าเครื่องพิมพ์สำหรับภาพถ่าย (Photo printer) ที่จะเพิ่มสีน้ำเงินอ่อน (light cyan) 
และม่วงแดงอ่อน (light magenta) เป็น 6 สีเพื่อเพิ่มความละเอียดในการไล่เฉดสีภาพถ่ายให้เหมือนจริงยิ่งขึ้น 
และบางรุ่นก็จะมีการเพิ่มสีที่ 7 คือสีดำจางเพื่อช่วยในการพิมพ์เฉดสีเทาเข้าไปอีก

Inkjet_Printer
2.1.2.3 เครื่องพิมพ์เทอร์มอล (Thermal printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพในการพิมพ์สูงสุดจะมี 2 ประเภท 
คือ Thermal wax transfer ให้คุณภาพและราคาที่ต่ำกว่า ทำงานโดยการกลิ้งริบบอนที่เคลือบแวกซ์ไปบนกระดาษ
แล้วเพิ่มความร้อนให้กับริบบอนจนแวกซ์นั้นละลายและเกาะติดอยู่บนกระดาษ ส่วน Thermal dye transfer
ใช้หลักการเดียวกับ thermal wax แต่ใช้สีย้อมแทน wax จะเป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงสุด 
โดยสามารถพิมพ์ภาพสีได้ใกล้เคียงกับภาพถ่าย แต่ราคาเครื่องและค่าใช้จ่ายในการพิมพ์จะสูงมาก 

Thermal_printer

2.2 เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter) 


Plotter
ใช้ วาดหรือเขียนภาพสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูง ๆ เนื่องจากพลอตเตอร์จะใช้ปากกาในการวาดเส้นสายต่าง ๆ 
ทำให้ได้เส้นที่ต่อเนื่องกันตลอด ในขณะที่เครื่องพิมพ์ทั่วไปจะใช้วิธีพิมพ์จุดเล็ก ๆ ประกอบขึ้นเป็นเส้น ทำให้ได้เส้นที่
ไม่ต่อเนื่องกันสนิท พลอตเตอร์นิยมใช้กับงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่ต้องการความสวยงามและความละเอียดสูง 
มีให้เลือกหลากหลายชนิดโดยจะแตกต่างกันในด้านความเร็ว ขนาดกระดาษ และจำนวนปากกาที่ใช้เขียน
ในแต่ละครั้ง มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์ธรรมดามาก