วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล

ส่วนรับข้อมูล (Input)

เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือ แผงแป้นอักขระ (keyboard) และเมาส์ (mouse)
คีย์บอร์ด


เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น

การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์

เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทยจึงต้องมีการดัดแปลงแผงแป้นอักขระให้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้นเดียวกับภาษาอังกฤษ แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษภายใต้การควบคุมของซอฟต์แวร์อีกชั้นหนึ่ง

แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออามารุ่นแรก ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จะเป็นแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอ็กซ์ที ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอที และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2 โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้น รวมเป็น 101 แป้น

การเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่

สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้วไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊ค ขนาดของแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน เพราะผู้ผลิตต้องการพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลงโดยลดจำนวนแป้นลง แล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันเพื่อทำงานได้เหมือนแป้นเดียว
เมาส์

ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ที่พัฒนาในระยะหลัง ๆ นี้ สามารถติดต่อกับผู้ใช้โดยการใช้รูปกราฟิกแทนคำสั่ง มีการใช้งานเป็นช่วงหน้าต่าง และเลือกรายการหรือคำสั่งด้วยภาพ หรือสัญรูป (icon) อุปกรณ์รับเข้าที่นิยมใช้จึงเป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่เรียกว่า เมาส์เมาส์เป็นอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกที่ดีต่อการใช้งาน ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนจอภาพ ในขณะที่สายตาจับอยู่ที่จอภาพก็สามารถใช้มือลากเมาส์ไปมาได้ ระยะทางและทิศทางของตัวชี้จะสัมพันธ์และเป็นไปในแนวทางเดียวกับการเลื่อนเมาส

เมาส์แบ่งได้เป็นสองแบบคือ แบบทางกลและแบบใช้เแสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น ลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ เมาส์แบบทางกลนี้มีโครงสร้างที่ออกแบบได้ง่าย มีรูปร่างพอเหมาะมือ ส่วนลูกกลิ้งจะต้องออกแบบให้กลิ้งได้ง่ายและไม่ลื่นไถล สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์ระหว่างทางเดินของเมาส์และจอภาพ เมาส์แบบใช้แสงอาศัยหลักการส่งแสงจากเมาส์ลงไปบนแผ่นรองเมาส์ (mouse pad)
แผ่นรองเมาส์ซึ่งเป็นตาราง (grid) ตามแนวแกน X และ Y เมื่อเลื่อนตัวเมาส์เคลื่อนไปบนแผ่นตารางรองเมาส์ก็จะมีแสงตัดผ่านตารางและสะท้อนขึ้นมาทำให้ทราบตำแหน่งที่ลากไปเมาส์แบบนี้ไม่ต้องใช้ลูกกลิ้งกลม แต่ต้องใช้แผ่นตารางรองเมาส์พิเศษ การใช้เมาส์จะเป็นการเลื่อนเมาส์เพื่อควบคุมตัวชี้บนจอภาพไปยังตำแหน่งที่ต้องการแล้วทำการยืนยันด้วยการกดปุ่มเมาส์ ปุ่มกดบนเมาส์มีความแตกต่างกัน สำหรับเครื่องแมคอินทอช ปุ่มกดเมาส์จะมีปุ่มเดียว แต่เมาส์ที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มส่วนใหญ่จะมี 2 ปุ่ม โดยทั่วไปปุ่มทางซ้ายใช้เพื่อยืนยันการเลือกรายการและปุ่มทางขวาเป็นการยกเลิกรายการ เมาส์บางยี้ห้ออาจเป็นแบบ 3 ปุ่ม ซึ่งเราไม่ค่อยพบในเครื่องระดับพีซี ส่วนใหญ่จะเป็นเมาส์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีงานวิศวกรรม การเลือกซื้อเมาส์ควรพิจาณาจำนวนปุ่มให้ตรงกับความต้องการของซอฟต์แวร์ ในระดับเครื่องพีซีแนะนำให้ใช้เมาส์แบบสองปุ่มเพราะซอฟต์แวร์เกือบทั้งหมดสนับสนุนใช้งานเมาส์ประเภทนี้
สแกนเนอร์ (Scanner)
สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอ์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆได้ดังนี้
- ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
- บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์
- แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์
- เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงไปในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ โดยพื้นฐานการทำงานของสแกนเนอร์, ชนิดของสแกนเนอร์ และความสามารถในการทำงานของสแกนเนอร์แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้ ชนิดของเครื่องสแกนเนอร์
สแกนเนอร์สามารถจัดแบ่งตามลักษณะทั่วๆ ไป ได้ 2 ชนิด คือ
Flatbed scanners, ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่าง ๆ สแกนเนอร์ ชนิดนี้มีพื้นผิวแก้วบนโลหะที่เป็นตัวสแกน เช่น ScanMaker III Transparency and slide scanners, ซึ่งถูกใช้สแกนโลหะโปร่ง เช่น ฟิล์มและ สไลด์ การทำงานของสแกนเนอร์
การจับภาพของสแกนเนอร์ ทำโดยฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพ จะถูกจับโดยเซลล์ที่ไวต่อแสง เรียกว่า charge-couple device หรือ CCD ซึ่งโดยปกติพื้นที่มืดบน กระดาษจะสะท้อนแสงได้น้อยและพื้นที่ที่สว่างบนกระดาษจะสะท้อนแสงได้มากกว่า CCD จะสืบหาปริมาณแสงที่สะท้อนกลับ
จากแต่ละพื้นที่ของภาพนั้น และเปลี่ยนคลื่นของแสงที่สะท้อน กลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอล หลังจากนั้นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการสแกนภาพก็จะแปลงเอาสัญญาณเหล่านั้นกลับมาเป็นภพ บนคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง สิ่งที่จำเป็นสำหรับการสแกนภาพมีดังนี้
- สแกนเนอร์
- สาย SCSI สำหรับต่อจากสแกนเนอร์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
- ซอฟต์แวร์สำหรับการสแกนภาพ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของสแกนเนอร์ให้ สแกนภาพตามที่กำหนด
- สแกนเอกสารเก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำกลับมาแก้ไขได้อาจต้องมีซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนด้าน OCR
- จอภาพที่เหมาะสมสำหรับการแสดงภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์
- เครื่องมือสำหรับแสดงพิมพ์ภาพที่สแกน เช่น เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์หรือสไลด์โปรเจคเตอร์ ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้




 

1.) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคน และส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล(Process Unit) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัสดิจิตอล (หรือเป็นเลข 0 กับ 1) นั่นเอง อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่

- คีย์บอร์ด (keyboard)
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


- เมาส์ (mouse)
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


- สแกนเนอร์ (scanner)
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


- อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ (finger scan)

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


- ไมโครโฟน(microphone)

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


- กล้องเว็บแคม (webcam)

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ใน ส่วนรับข้อมูล ยังมีอีกมากมายและสามารถจะยังมีเพิ่มตามขึ้นไปเรื่อยๆ ตามการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์



2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่รับมาจาก ส่วนรับข้อมูล(Input Unit) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์



3.) หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลข้อมูล ของส่วนประมวลผลข้อมูล โดยปกติรูปแบบของการแสดงผล มีอยู่ 2 แบบ ด้วยกันคือ แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ และแบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้

- แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เครื่องวาด (Plotter)
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เครื่องพิมพ์ (Printer)


ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เครื่องวาด (Plotter)



- แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ เช่น จอภาพ(Monitor) , เครื่องฉายภาพ(LCD Projector) และ ลำโพง (Speaker)

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
จอภาพ (monitor)


ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เครื่องฉายภาพ (LCD Projector)



4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยความจำ (Memory Unit) อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำชั่วคราวและหน่วยความจำถาวร


- หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM: Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลและชุดคำสั่งจะหายไปทุกครั้งที่เราปิดเครื่อง

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
RAM


- หน่วยความจำถาวรหรือ หน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ Hard Disk ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
Harddisk










 
 


ทฤษฎีระบบ (System Theory)

ทฤษฎีระบบ (System Theory)

ความหมายของระบบ

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. สมชาย หิรัญกิตติ, สุดา สุวรรณาภิรมย์, ลัทธิกาล ศรีวะรมย์, และ ชวลิต ประภวานนท์ (2539, หน้า 31) ให้ความหมายของระบบว่า เป็นกลุ่มของส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งกัน ต้องการบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน

ประชุม รอดประเสริฐ (2543, หน้า 66) ได้ให้รายละเอียดของระบบไว้ใน 2 ลักษณะ กล่าวคือ ความหมายที่เป็นนามธรรม และ รูปธรรม โดยความหมายที่เป็นนามธรรมของระบบ หมายถึง วิธีการ (Method) การปฏิบัติงานที่มีรูปแบบและขั้นตอนที่ไม่ตายตัว อาจผันแปรตามสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่กำหนดให้ ส่วน ความหมายที่เป็นรูปธรรม หมายถึง สรรพสิ่ง (Entity) ที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยกัน โดยมีส่วนหนึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบ

Hicks (1972, p. 461) Semprevivo (1976, p. 1) Kindred (1980, p. 6) กล่าวว่า ระบบ คือ การรวมตัวของสิ่งหลายสิ่ง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยแต่ละสิ่งนั้นมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หรือขึ้นต่อกันและกัน หรือมีผลกระทบต่อกันและกัน เพื่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง

ระบบ

ระบบ (อังกฤษ: System, มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน systēma, ในภาษากรีก σύστημα systēma, "ภาพรวมทั้งหมดขององค์ประกอบต่างๆหรือสมาชิกต่างๆที่อยู่ภายใน", ดูเพิ่มเติมได้จากบทความเกี่ยวกับ องค์ประกอบ หรือ "composition"[1]) ระบบ คือชุดของสิ่งที่มีปฏิสัมพันธ์ หรือ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน ของสิ่งที่มีการดำรงอยู่ที่แตกต่างและ อย่างเป็นอิสระ ที่ได้ถูกควบรวมในรูปแบบบูรณาการทั้งหมด ดังนั้นระบบส่วนใหญ่จะมีลักษณะบางอย่างร่วมกัน

ระบบหนึ่ง อาจเป็น เซ็ตขององค์ประกอบย่อยของเซ็ตใดๆในระบบอื่นๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันตรงที่ ความสัมพันธ์ของเซ็ตนั้นๆ กับ องค์ประกอบย่อยของมัน ต่อ องค์ประกอบย่อย หรือ เซ็ตอื่นๆ หรือ อาจกล่าวได้ว่า ทุกสิ่งในสภาพแวดล้อมในโลก เรียกว่า ระบบ ที่มีองค์ประกอบต่างๆภายในของมันเอง หรือ เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมให้กับ ระบบอื่นๆ หรือ อย่างน้อย ทุกๆสิ่งในโลกนี้ เป็น เซ็ตของความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆที่เป็นส่วนหนึ่งภายใน "โลก" คือ ระบบโดยรวม นั่นเอง ขอบเขตของการศึกษาเกี่ยวกับ ระบบ ในคุณลักษณะทั่วไป "general properties of systems" จะพบได้ใน ศาสตร์ต่างๆเหล่านี้ทฤษฎีระบบ,cybernetics, ระบบพลวัต, อุณหพลศาสตร์ และ complex systems ศาสตร์เหล่านี้ ต่างศึกษาหาคำจำกัดความ หรือ สรุปแนวคิดโดยรวมเกี่ยวกับ คุณสมบัติหรือ คุณลักษณะโดยทั่วไปของ ระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องให้คำจำกัดความโดยไม่ขึ้นอยู่กับ แนวคิดเฉพาะเจาะจง สาขา ชนิด หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงครั้งคราวเท่านั้น

ระบบ ส่วนใหญ่จะแบ่งปันลักษณะบางอย่างร่วมกัน ดังนี้ :

  • ระบบ มี โครงสร้าง รูปร่าง หรือ structure, ที่ถูกกำหนดโดย องค์ประกอบภายใน components และ ส่วนประกอบต่างๆ ภายใน;
  • ระบบ มี พฤติกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “กระบวนการภายใน” (input, process, output)ซึ่งองค์ประกอบเหล่านั้นเป็นได้ทั้ง วัตถุดิบ,พลังงาน หรือ ข้อมูลข่าวสาร หรือ แม้แต่ data เป็นต้น
  • ระบบ มี การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันภายใน interconnectivity: ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก ส่วนต่างๆ ภายในระบบที่มี ฟังก์ชันการปฏิบัติหน้าที่ที่สอดคล้องกันเช่นเดียวกับ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างที่มีต่อกันภายใน
  • ระบบ อาจจะมี การทำงานหรือ ฟังก์ชันบางส่วน หรือ อาจจะเป็นการทำงานของทั้งกลุ่มที่อยู่ภายใน

ในความหมายของคำว่า ระบบ'system อาจจะอ้างถึง เกี่ยวกับ เซ็ตของ กฏ ที่ควบคุม โครงสร้าง รูปร่าง structure หรือ พฤติกรรม ของ ระบบทั้งหมด นั้นๆ



องค์ประกอบในคอมพิวเตอร์


ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆ 5 ส่วนได้แก่

อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผลกลาง (CPU : Central Processing Unit) มีหน้าที่ในการประมวลผลคำสั่งหรือข้อมูลต่างๆ
หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) เป็นส่วนที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ ก่อนที่จะส่งไปยังหน่วยประเมิลผลกลางเพื่อทำการประมวลผลต่อไป เมื่อเปิดเครื่ององคอมพิวเตอร์ข้อมูลในหน่วยความจำก็จะหายไปหมด
อุปกรณ์แสดงข้อมูล (Output Device) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการแสดงผลต่างๆตัวอย่างที่ใช้กันประจำ ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
หน่วยความจำสำรอง (Auxiliary Storage) มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลของหน่วยความจำสำรองนี้จะเป็นการจัดเก็บที่ถาวร ข้อมูลจะไม่หายไปเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ตัวอย่าง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสก์ เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ (Software)
ในส่วนของซอฟต์แวร์ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ และทำหน้าที่ติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช่ได้ด้วย
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
(Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นมาให้ผู้ใช้ทำงานต่างๆ เช่น พิมพ์งาน วาดภาพ เป็นต้น

ลักษณะของคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์นั้น ถ้ามองในด้านลักษณะคอมพิวเตอร์จะสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ดั้งนี้
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว และไม่ได้ทำการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ
ลักษณะแบบ (Time-sharing)เป็นลักษณะที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเรียกว่า Terminal ทุกเครื่องจะส่งคำสั่งที่ต้องการมาประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง เพราะการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางจะต้องมีเวลาในการประมวลคำสั่งต่าง ๆ ที่ส่งมาจาก Terminal ทุกเครื่องในลักษณะแบบ Time-sharing
ลักษณะแบบ (Client/Server)เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็น Server คอยดูแลจัดทรัพยากรของระบบทั้งหมด และมีเครื่องClients ต่อเข้าเครื่อง Server โดยใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่เครื่อง Server มีอยู่ ตามสิทธิของผู้ใช้แต่ละคน และการประมวลผลจะไม่ทำอยู่บนเครื่องServer แต่จะประมวลที่ Clients แต่ละเครื่องเอง แล้วอาจนำข้อมูลต่าง ๆ ไปเก็บที่เครื่อง Server

ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Languages)
ในการเขียนโปรแกรมนั้น ผู้ใช้จะต้องใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมเรียกว่าซอฟต์แวร์ขึ้นมา ภาษาคอมพิวเตอร์นั้นจะมีตั้งแต่ละดับภาษาของเครื่องขึ้นมาจนถึงภาษาธรรมชาติ

ภาษาเครื่อง (Machine Languages) ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจมากที่สุด ซึ่งจะเป็นลักษณะแบบเลขฐานสอง คือ 0 กับ 1
ภาษาสัญลักษณ์ (Symbolic Languages) เมื่อคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆและมีผู้ใช้มากขึ้น จึงมีคนมองเห็นว่าการที่จะเขียนโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาเครื่องนั้น จะทำให้การพัฒนาทางด้านซอฟต์แวร์เป็นไปได้ช้า จึงได้มีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ขึ้นเพื่อให้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สะดวกยิ่งขึ้น แต่การที่นำโปรแกรมนั้นไปใช้ จะต้องทำการเปลี่ยนภาษาสัญลักษณ์เป็นภาษาเครื่องก่อนเสมอ
ภาษาระดับสูง (High-Level Languages) เป็นภาษาที่พัฒนามาจากภาษาสัญลักษณ์อีกทีหนึ่ง แต่จะมีลักษณะที่คล้ายกับภาษามนุษย์มากยิ่งขึ้น การแปลงภาษาระดับให้เป็นภาษาเครื่องนั้นจะมีวิธีการเรียกว่าคอมไฟล์ ภาษาระดับได้แก่ FORTRAN COBOL และ ภาษาC
ภาษาธรรมชาติ (Natural Languages) ภาษาธรรมชาติก็คือภาษาที่มนุษย์พูดกัน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นไม่สามารถที่จะเข้าใจได้เลย ในปัจจุบันยังไม่มีคนนิยมใช้กันมากนัก

ขั้นตอนการรันโปรแกรมด้วยภาษา c
การพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา c นั้นมีขั้นตอนอยู่ 3 ขั้น ดังนี้
1.เขียนและแก้ไขโปรแกรม คือ การนำคำสั่งต่างๆของภา c มาเขียนเรียงต่อๆกันจนเป็นโปรแกรมที่ทำงานตามผู้ใช้ต้องการ โดยการเขียนจะเป็นตัวอักษร ซึ่งเมื่อเขียนเสร็จก็จะได้เป็น Source Files
2.คอมไฟล์โปรแกรม เมื่อได้ Source Files แล้วและเมื่อต้องการรันโปรแกรมใดๆผู้ใช้จะต้องทำการแปลง Source Files เหล่านั้น ให้เป็นภาษาเครื่องก่อน ซึ่งในขั้นตอนนี้เรียกว่า คอมไฟล์โปรแกรม ซึ่งจะได้ไฟล์ Object Module ด้วย3.การลิงค์โปรแกรม ในภาษา c นั้นจะมีฟังก์ชั่นต่างๆที่เตรียมพร้อมมาให้ผู้ใช้ได้ใช้อยู่แล้ว เมื่อ คอมไฟล์โปรแกรมเสร็จแล้วไม่มีข้อผิดพลาดใด ตัวคอมไฟล์ (Compiler) จะทำการดึงโปรแกรมอื่นที่ถูกเรียกใช้จากโปรแกรมที่ทำการลิงค์เข้ามารวมในโปรแกรมที่สมบูรณ์

การรันโปนแกรม
เมื่อทำการลิงค์เสร็จแล้ว โปรแกรมนั้นก็พร้อมที่จะรัน และเมื่อรันโปรแกรมโดยใช้คำสั่งของระบบปฏิบัติงานโปรแกรมนั้นจะถูกโหลดลงสู่หน่วยคำสั่งหลักจากนั้นก็จะทำการรันการกระทำนี้เรียกว่า Loader

การพัฒนาโปรแกรม
ในการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาซักโปรแกรมหนึ่งนั้น ไม่ใช่มาถึงจะเขียนโปรแกรมได้เลย การพัฒนานั้นจะมีขั้นตอนที่เรียกว่า System Development Life Cycle
1.หาความต้องการของระบบ (System Requirements) คือ การศึกษาและเก็บความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ว่ามีความต้องการอะไรบ้าง
2.วิเคราะห์ (Analysis) คือ การนำเอาความต้องการของผู้ใช้โปรแกรมมาวิเคราะห์ว่าจะพัฒนาเป็นโปรแกรมตามที่ผู้ใช้ต้องการได้หรือไม่ถ้าทำได้จะทำได้มากน้อยเพียงใด3.ออกแบบ (Design) คือ เมื่อสรุปได้แล้วว่าโปรแกรมที่จะสร้างมีลักษณะใดขั้นตอนต่อมาคือ การออกแบบการทำงานของโปรแกรมให้เป็นไปตามความต้องการที่วิเคราะห์ไว้การออกแบบอาจจะออกแบบเป็นผังงานก็ได้
4.เขียนโปรแกรม (Code) คือ เมื่อได้ผังงานแล้ว ต่อมาก็เป็นการเขียนโปรแกรมตามผังงานออกแบบไว้
5.ทดสอบ (System Test) คือเมื่อเขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว จะต้องมีการทดสอบเพื่อหาข้อผิดพลาดต่างๆ เช่น ตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการหรือไม่ ถ้าพบข้อผิดพลาดก็กลับไปทำออกแบบอีกครั้ง
6.ดูแล (Maintenance) เมื่อโปรแกรมผ่านการทดสอบแล้ว และผู้ใช้ได้นำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้ ผู้พัฒนาจะต้องคอยดูแล เนื่อจากอาจมีข้อผิดพลาดที่หาไม่พบในขั้นตอนการทดสอบโปรแกรม



การทำงานของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องคำนวณ อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์

หรืออาจกล่าวได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึง เครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล จากคุณสมบัตินี้ของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่ใช่เครื่องคิดเลข เครื่องคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการคือ
1. ความเร็ว (Speed) เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูงมาก ซึ่งหน่วยความเร็วของการทำงานของคอมพิวเตอร์วัดเป็น
- มิลลิเซกัน (Millisecond) ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1000 วินาที หรือ ของวินาที
- ไมโครเซกัน (Microsecond) ซึ่งเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000 วินาที หรือของวินาที
- นาโนเซกัน (Nanosecond) ซึ่งเปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000,000 วินาที หรือของวินาที
ความเร็วที่ต่างกันนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละยุค ซึ่งได้มีการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลข้อมูล ได้เร็วในเวลาไม่เกิน 1 วินาที จะทำให้คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการนำมาเป็นเครื่องมือใช้งานอย่างดียิ่ง
2. หน่วยความจำ (Memory) เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยความจำ ซึ่งสามารถใช้บันทึกและเก็บ
ข้อมูลได้คราวละมากๆ และสามารถเก็บคำสั่ง (Instructions) ต่อๆกันได้ที่เราเรียกว่าโปรแกรม แลนำมาประมวลในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเก็บข้อมูลได้ครั้งละมากๆ เช่น การสำรวจสำมะโนประชากร หรือรายงานผลการเลือกตั้งซึ่งทำให้มีการประมวลได้รวดเร็วและถูกต้อง จากการที่หน่วยความจำสามารถบันทึกโปรแกรมและข้อมูลไว้ในเครื่องได้ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติพิเศษ คือสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติ ในกรณีที่มีงานที่ต้องทำซ้ำๆหรือบ่อยครั้งถ้าใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงซึ่งจะได้ทั้งความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำและประหยัดเนื่องจากการเขียนคำสั่งเพียงครั้งเดียวสามารถทำงานซ้ำๆได้คราวละจำนวนมากๆ
3. ความสามารถในการเปรียบเทียบ (Logical)
ในเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยหน่วยคำนวณและตรรกะซึ่งนอกจากจะสามารถในการคำนวณแล้วยังสามารถใช้ในการเปรียบเทียบซึ่งความสามารถนี้เองที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างกับเครื่องคิดเลข และคุณสมบัตินี้ทีทำให้นักคอมพิวเตอร์สร้างโปรแกรมอัตโนมัติขึ้นใช้อย่างกว้างขวาง เช่นการจัดเรียงข้อมูลจำเป็นต้องใช้วิธีการเปรียบเทียบ การทำงานซ้ำๆตามเงื่อนไขที่กำหนด หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในกิจการต่างๆซึ่งเกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน และการใช้แรงงานจากคอมพิวเตอร์แทนแรงงานจากมนุษย์ทำให้รวดเร็วถูกต้อง สะดวกและแม่นยำ เป็นการผ่อนแรงมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก














https://www.google.co.th




 

 


วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ฮาร์ดแวร์


ความหมายของฮาร์ดแวร์


ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของ องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ดังนี้

1) หน่วยรับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอาจส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลโดยตรง เช่น เมาส์ , แผงแป้นอักขระ, ปากกาแสง, ก้านควบคุม ฯลฯ หรือส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลทางอ้อม เช่น เครื่องขับ, แผ่นบันทึก , เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เป็นต้น

2) หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ไมโครโพรเซสเซอร์ ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูล เก็บไว้ในหน่วยความจำมาแปลความหมาย และ กระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนได้ด้วยรหัสเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วย หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณและหน่วยตรรกะ

3) หน่วยส่งออก หรือหน่วยแสดงผล ซึ่งประกอบด้วย จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) และเครื่องพิมพ์ (Printer)
ความหมายของ Hardware
ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์คือ อุปกรณ์และชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ ที่มีวงจรไฟฟ้าอยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่ และสามารถจับต้องได้ ตัวอย่างเช่น ซีพียู เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ ลำโพง แผงเมนบอร์ดฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม เป็นต้น

หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU : Central Processing Unit ) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูงตามไปด้วย ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย การเลือกซื้อจะต้องเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการนำไปใช้ เช่นต้องการนำไปใช้งานกราฟิกส์ ที่มีการประมวลผลมาก จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องที่มีการประมวลผลได้เร็ว ส่วนการพิมพ์รายงานทั่วไปใช้เครื่องที่ความเร็ว 100 MHz ก็เพียงพอแล้ว


ที่มา:http://www.rayongwit.ac.th/computer50/web-m2-wed/g15m2wed/hardw.htm

 

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ขนมไทย


 


ขนมทองหยิบ


ขนมทองหยิบ

ประวัติขนมทองหยิบ
ขนมทองหยิบ เป็นขนมหวานขื้นชื่อที่ นิยมรับประทานกันอีกชนิดหนึ่ง ความหวานของบขนมทองหยิบ แพร่หลายมาถึงปัจจุบันถือเป็นหนึ่งของร่องรอยที่ชาวโปรตุเกสทิ้งไว้

ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี เดอร์ กีมาร์ ภริยาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ขุนนางฝรั่งผู้มีบทบาทอย่างมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งท้าวทองกีบม้านี่เองที่สอนให้คนไทยทำขนมเหล่านี้

“ท้าวทองกีบม้า” หรือ “มารี เดอร์ กีมาร์” เกิดเมื่อพุทธศักราช 2201 แต่บางแห่งก็ว่า พุทธศักราช 2209 โดยยึดหลักกับปีที่แต่งงานกับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เมื่อปี พุทธศักราช 2225 ซึ่งขณะนั้น มารีมีอายุเพียง 16 ปี เท่านั้นเอง

บิดา ชื่อ “ฟานิก” (phanick) เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล มารดาชื่อ “อุรสุลา ยา มาดา” (Ursala Yamada) ซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ช่วงชีวิตหนึ่งของ

“ท้าวทองกีบม้า” ได้ไปรับราชการในสำนักพระราชวังตำแหน่ง “หัวหน้าห้องเครื่องต้น” ดูเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์และเก็บผลไม้เสวย มีพนักงานอยู่ภายใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน ซึ่งเธอทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ยกย่องเชิดชู

ระหว่างที่รับราชการนางมารีได้สอนการทำขนมหวานจำพวกทองหยอด ทองหยิบ ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิง และอื่นๆ ให้กับคนไทยได้นำมาถ่ายทอดต่อมาแต่ละครอบครัวและกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนถึงทุกวันนี้

ขนมน้ำดอกไม้



ขนมน้ำดอกไม้
ขนมน้ำดอกไม้เป็นขนมไทยที่ชื่อไม่คุ้นสำหรับใครหลายคน บางคนอาจจะยังไม่เคยกิน สมัยนี้อาจจะหากินยากสักหน่อย

ส่วน ผสม
แป้งเท้ายายม่อม 1 ช้อนโต๊ะ
แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย
น้ำตาลทราย 3/4 ถ้วย
น้ำปูนใส 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำลอยดอกมะลิ 1 3/4 ถ้วย
ถ้วยตะไลสำหรับใส่ขนม

วิธี ทำ
1. ให้นำ น้ำลอยดอกมะลิ น้ำตาล ลงในหม้อ ตั้งไฟ คนๆให้น้ำตาลละลาย พอเดือดให้ยกลง
กรองน้ำเชื่อมผ่านผ้าขาวบางให้สะอาด แล้วทิ้งไว้ให้เย็น จะได้น้ำเชื่อม
2. ใส่แป้งข้าวเจ้า แป้งเท้ายายม่อม ลงในชามผสม ใส่น้ำปูนใสและน้ำเชื่อมทีลงไปละน้อย จากนั้นนวดแป้งจนรวมตัวเป็นก้อน หยดใส่น้ำเชื่อม นวดต่อไปเรื่อยๆจนแป้งเหนียว ใส่น้ำเชื่อมที่เหลือจนหมด นำไปกรอง จากนั้นหมักแป้งไว้ 1 ชั่วโมง
3. ใส่น้ำในลังถึง ตั้งไฟให้เดือด แล้วนำถ้วยตะไลไปนึ่งให้ร้อนจัด แล้วใส่แป้งลงไป จากนั้นปิดฝาลังถึงแต่ไม่ต้องปิดสนิท
4. ใส่แป้งให้เต็มถ้วย นึ่งนานประมาณ 3 นาที พอหน้าขนมเริ่มบุ๋ม เบาไฟลง
นึ่งต่ออีกประมาณ 15 นาที
***ถ้าต้องการทำให้ขนมบุ๋มตรงกลางมากๆ ให้เทแป้งออกหลังจากนึ่ง พอแป้ง
จับขอบถ้วยก็เปิดฝา
ขนมชั้น
ขนมชั้นขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคลต่าง เพราะความเชื่อแบบไทยๆว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพ
ส่วนผสมของขนมชั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3 - 4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมชั้นในแต่ละแบบ ซึ่งแป้งแต่ละอย่างก็จะมีคุณสมบัติทำให้ขนมมีเนื้อต่างกัน
ขนมชั้นในสูตรโบราณกับสูตารปัจจุบันนั้นจะมีความแตกต่างกันทั้งสีสันและรูปร่าง ปัจจุบันจะนินมที่สีสันสอสวย ดึงดูดตาดูน่ากิน

ส่วนผสมของขนมชั้น
แป้งถั่วเขียว 2 ช้อนโต๊ะ
แป้งท้าวยายม่อม 1 ถ้วย
แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ
แป้งมัน 2 ถ้วย
หัวกะทิ 4 ถ้วย
น้ำตาลทราย 3 ถ้วย
น้ำลอยดอกมะลิ 1 ถ้วย
หางกะทิ 3 ถ้วย

สีธรรมที่ได้จากชาติ ได้แก่ ใบเตย ดอกคำฝอย หรือดอกอัญชัน ฯลฯ
การคั้นสีต่างๆสีเขียวใบเตย:นำใบเตยสดมาปั่นบีบเอาแต่น้ำนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง
สีเหลืองดอกคำฝอย:นำดอกคำฝอยไปแช่น้ำร้อน กรองเอาแต่น้ำ
สีม่วงดอกอัญชัน:นำดอกอัญชันมาปั่นหรือตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ
สีขาวใส:ไม่ต้องผสมสีอะไร


วิธีทำ :
1. เริ่มจากการเชื่อมน้ำเชื่อมก่อน โดยใช้น้ำเปล่า 1 ถ้วย + น้ำตาลทราย 3 ถ้วย
2. นำแป้งทั้ง 4 ชนิดมาผสมรวมกัน แล้วนวดกับหัวกะทิ โดยค่อย ๆ ใส่กะทิทีละน้อย ๆ นวดไปเรื่อย ๆ จนกะทิหมด พอให้แป้งติดหลังมือเท่านั้น
2. เมื่อนวดได้ที่แล้ว นำแป้งที่ได้ไปละลายกับหางกะทิและน้ำเชื่อม ใช้กระบวยคนไปเรื่อย ๆ จนละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
3. แยกแป้งออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ใส่ส่วนที่เป็นสีลงไป ได้แก่ สีจากน้ำใบเตย และอีกส่วนหนึ่งอาจจะไม่ใส่สีก็ได้ หรืออาจจะดัดแปลงเป็นหลายๆสีก็แบ่งแป้งออกเป็นหลายๆส่วนตามจำนวนชั้นของสีขนม
4. นำถาดไปนึ่งแล้วทาน้ำมันให้ทั่ว ใส่แป้งสีขาวประมาณ 1/2 ถ้วย แล้วนึ่งให้สุกประมาณ 5 นาที ชั้นที่ 2 ใส่สีเขียวใบเตย แล้วนึ่งอีกประมาณ 5 นาที ทำเช่นนี้ไปจนหมดแป้ง แล้วให้ชั้นสุดท้ายเป็นสีเข้มกว่าชั้นอื่น ๆ เมื่อสุกยกลงทิ้งให้เย็น แล้วตัดเป็นชิ้นตามต้องการ

การนึ่งขนมชั้น :
1. ใส่น้ำในลังถึงยกขึ้นตั้งไฟ พอน้ำเดือดให้เรียงภาชนะที่จะใส่ขนมชั้นลงไป
2. ตักแป้งขนมชั้นส่วนที่เป็นสีขาวลงไปในชั้นแรก ปิดฝานึ่งให้ประมาณ 5-7 นาที
3. หยอดแป้งชั้นที่สองซึ่งเป็นสีลงไปนึ่งต่ออีก ทำแบบนี้สลับกันจนครบตามจำนวนชั้น ซึ่งเป็นชั้นสุดท้ายปิดหน้าด้วยสีที่สวยงาม
4. เมื่อขนมชั้นสุกได้ที่แล้วก็ปิดไฟ รอให้เย็น
5. ตัดแบ่งเป็นชิ้นให้ทำเป็นรูปร่างต่างๆ อาจจะใช่พิมส์แบบต่างๆกดตัดเป้นรูปที่สวยงาม

ขนมฝอยทอง


ขนมฝอยทอง
ขนมฝอยทองเป็นขนมหวานสัญชาติโปรตุเกตุ ที่คนไทยเข้าใจผิดมานาน ว่าเป็นขนมบ้านเรา แต่ขนมฝอยทองก้เป็นขนมที่ถุกปากคนไทยเพราะความหวานอร่อยจากน้ำตาลและไข่ไก่ มาดูส่วนผสมและวิธีการทำขนมฝอยทอง

ส่วนผสม
ไข่ไก่สดใหม่ 20 ฟอง
น้ำตาลทราย 5 ถ้วย
น้ำลอยดอกมะลิ 3 ถ้วย

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมเพิ่มเติม :ไม้ปลายแหลม กรวยใบตองหรือกรวยโลหะ

วิธีทำ
1.ต่อยไข่ไก่ใส่ชาม แยกไข่ขาวไข่แดงออกจากกัน รีดเอาเยื่อออก นำไข่แดงผสมกับไข่น้ำค้างใน อัตราส่วน ไข่แดง 3 ฟอง/ไข่น้ำค้าง 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน
2.กระทะทองตั้งไฟ ใส่น้ำตาล น้ำลอยดอกมะลิ น้ำตาลละลาย พอเดือดยกลง กรองด้วยผ้าขาวบางให้สะอาด นำขึ้นตั้งไฟอีกครั้ง เคี่ยวต่อไปเรื่อยๆจนมีลักษณะข้น
3.ใส่ไข่แดงที่ผสมไว้ (ข้อ1) ลงในกรวยสำหรับโรยไข่ แล้วโรยลงในน้ำเชื่อมจนเต็มกระทะทอง วิธีการโรยให้โรยแบบวนรอบกระทะ รอให้เดือดนาน 2 นาที ใช้ไม้
ปลายแหลมตักขึ้น พับให้เป็นแพเล็กๆ จัดเรียงใสกระจาดหรือกระด้งที่ปูรองด้วยใบตอง


**หมายเหตุ**
1.ไข่น้ำค้าง คือ ไข่ขาวใสๆที่ติดค้างอยู่กับเปลือกไข่ส่วนป้านซึ่งไข่แต่ละฟองจะมีอยู่ในปริมาณที่ไม่เท่ากัน
2.ไข่ที่ทำฝอยทองควรเป็นไข่ไก่ที่สดใหม่ จะทำให้เส้นฝอยทองกลมสวย เพราะถ้าเป็นไข่เก่าไข่แดงจะเหลวเพราะมีน้ำอยู่มาก ทำให้เส้นฝอยทองขาด วิธีแก้ไข ต้องลดปริมาณไข่น้ำค้างลงแล้วเพิ่มปริมาณไข่แดง
3.เทคนิคในการโรยฝอยทอง ควรใช้ไฟที่ร้อนมากขึ้นเฉพาะตรงกลางกระทะ เพื่อให้น้ำเชื่อมมีฟองตรงกลาง เมื่อโรยไข่ ฟองน้ำเชื่อมจะดันฝอยทองลอยไปอยู่ขอบกระทะ ซึ่งช่วยให้ไข่ที่โรยใหม่ไม่ทับกันนอกจากนี้เส้นฝอยทองที่ได้ยังกลมสวย

ขนมหยกมณี

ขนมหยกมณี
ขนมหยกมณีเป็นขนมที่ทำจากเม็ดสาคู และปัจจุบันมีสาคูสีเขียว และสีอื่นๆ ขาย ถ้าใช้สาคูสีเขียวไม่ต้องแช่ด้วยน้ำใบเตยถ้าเป็นสีขาวจึงจะแช่ด้วยน้ำใบเตย ในระหว่างการทำถ้าสาคูยังไม่สุก อย่าใส่น้ำตาลทราย จะทำให้สาคูไม่สุก ควรเลือกมะพร้าวทึนทึกทีค่อนข้างอ่อน จะทำให้ขนมอร่อยขึ้น

ส่วนผสมขนมหยกมณี
สาคูเม็ดเล็ก ½ ถ้วยตวง
น้ำใบเตย 3/4 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย ½ ถ้วยตวง
มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 1 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1/4 ช้อนชา

วิธีทำขนมหยกมณี
1. ผสมมะพร้าวทึนทึกกับเกลือให้เข้ากัน นึ่งไฟกลาง 5- 10 นาที
2. ตั้งกระทะทองใส่น้ำใบเตย และน้ำตาลทราย 1/4 ถ้วยตวง เคี่ยวให้เดือด
3. ใส่เม็ดสาคูลงไป กวนพอสุกเป็นตากบเล็กน้อย ใส่น้ำตาลทรายที่เหลือลงไปกวนต่อจนสาคูสุกใส
4. เทขนมที่สุกแล้วลงในมะพร้าวที่นึ่งแล้วในข้อ 1.
5. ตัดเป็นชิ้นพอคำ คลุกกับมะพร้าวให้ทั่วใส่ถ้วยเล็กๆ

ขนมหม้อแกง ขนมไทย


ขนมหม้อแกง ขนมไทย
ขนมหม้อแกงเป็นขนมไทยที่เราเห็นขายๆ กันอยู่ จะมีหลายชนิด เช่นหม้อแกงไข่ หม้อแกงถั่ว หม้อแกงเผือก หม้อแกงเม็ดบัว  ซึ่งวิธีการทำจะคล้ายๆ กับหม้อแกงถั่ว แตกต่างกันเพียง ถ้าจะทำหม้อแกงเผือกก็ใส่เผือก ถั่ว หรือเม็ดบัว แต่จะต้องทำให้สุกก่อน และถ้าต้องการให้ขนมมีกลิ่นหอมควรเลือกใช้น้ำตาลมะพร้าว

ส่วนผสมขนมหม้อแกง
ไขเป็ดหรือไข่ไก่ 3 ฟอง
 หัวกะทิ 1/2 ถ้วยตวง
น้ำตาลมะพร้าว 1/2 ถ้วยตวง
ใบเตย 5 ใบ
ถั่วเขียวเลาะเปลือกต้มสุกบดละเอียด 1/2 ถ้วยตวง
ขนมหม้อแกง ขนมไทย

วิธีทำขนมหม้อแกง ขนมไทย
1. ผสมไข่ หัวกะทิ น้ำตาลมะพร้าว เข้าด้วยกัน
2. ขยำด้วยใบเตยจนขึ้นฟู ประมาณ 10 นาที กรองด้วยกระชอนใส่ถั่วคนให้เข้ากัน
3. เทใส่ถาดขนาด 4 1/2 นิ้ว x 4 1/2 นิ้ว
4. อบในเตาอบอุณหภูมิ 150- 170 องศาเซลเชียส ประมาณ 30 นาทีหรือ  จนขนมสุก เอาออกจากเตา พักไว้ให้เย็น
 5. ตัดขนมหม้อแกงเป็นชิ้นๆ เสิร์ฟ

หมายเหตุ
- สามารถเพิ่มเนื้อเผือก หรือเม็ดบัวลงไป จะได้เป็นหม้อแกงเผือก หรือหม้อแกง
เม็ดบัว ถ้าใช้เฉพาะไข่อย่างเดียว เรียกขนมหม้อแกงไข่
- ในการทำหม้อแกงเผีอก ใช้เผือกนึ่งสุก บดละเอียด 1/2 ถ้วยตวง

ขนมหม้อแกง ขนมไทย

ขนมปลากริมไข่เต่า ขนมไทยโบราณ


ขนมปลากริมไข่เต่านี้เป็นขนมไทยโบราณ เดิมเรียกว่า ขนมแชงมา และขนมจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนเค็มและส่วนหวาน ซึ่งเรียกว่า ตัวขนมและหน้าขนม

ส่วนผสมแป้ง
แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
แป้งท้าวยายม่อม 1 ช้อนโต๊ะ
แป้งมัน 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง

ส่วนผสมแป้งนวล
แป้งมัน 2 ช้อนโต๊ะ
แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ

ส่วนผสมตัวขนม
หางกะทิ 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลมะพร้าว ½ ถ้วยตวง
แป้งท้าวยายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำสำหรับละลายแป้ง ¼ ถ้วยตวง
ใบเตยตัดท่อนยาว 3 นิ้ว 2 ใบ

วิธีทำ
1. ผสมแป้งนวลในถ้วยพักไว้ สำหรับเวลาปั้นไม่ให้แป้งติดมือ
2. ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งท้าว แป้งมัน ลงในกระทะทอง ค่อยๆ ใส่น้ำทีละน้อย จนหมดคนให้ส่วนผสมเข้ากัน
3. นำไปตั้งไฟกวนด้วยไฟกลางค่อนข้างอ่อน จนแป้งเป็นก้อน เอาใส่ในถาดที่โรยแป้งนวล (เคล็ดลับ การกวนแป้งอย่าให้สุกมาก แป้งจะแข็งนวดยาก ต้องกวนให้มีความดิบอยู่บ้าง ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ แป้งจะสวย)
4. พอแป้งอุ่นนวดให้เนียน ถ้าแป้งติดมือหรือติดภาชนะให้ใช้แป้งนวลโรย
5. ปั้นแป้งเป็นตัวยาวๆ หัวรีท้ายรี ขนาดเล็กๆ ซึ่งครึ่งหนึ่งใช้ทำตัวขนม อีกครึ่งปั้นเป็นก้อนกลมเล็กน้อยคล้ายไข่เต่า สำหรับทำหน้าขนม

วิธีทำตัวขนม
1. นำหางกะทิ น้ำตาลมะพร้าว ใบเตยใส่หม้อ ตั้งไฟพอเดือด
2. ขณะที่หางกะทิเดือด ค่อยๆ เทแป้งท้าวยายม่อมละลายน้ำลงไป
3. ใส่ตัวแป้งที่ลวงแล้วลงไป คนให้เข้ากัน ยกลงพักไว้

วิธีทำหน้าขนม
1. นำหัวกะทิ เกลือ ใบเตย ใส่หม้อตั้งไฟ ให้เดือด
2. ใส่ตัวแป้งที่ลวกแล้วอีกส่วนหนึ่งลงไปคนให้เข้ากัน พอเดือดยกลง เมื่อจะเสิร์ฟ ตักขนมทั้ง 2 ชนิด ใส่ในถ้วยเดียวกัน  ถ้าคนรับประทานชอบหวาน ให้ใส่ตัวขนมมากๆ ถ้าชอบเค็มใส่หน้ามากๆ

กล้วยบวชชี



กล้วยบวชชี
กล้วยบวชชีเป็นขนมไทยพื้นบ้านที่หากินได้ง่ายๆ เราสามารถทำกินเองที่บ้านได้ไม่ยากเช่นกัน วิธีการก็ง่ายๆ ดังนี้

ส่วนผสม
กล้วยน้ำว้าสุกพอห่ามๆ 1 หวี
หัวกะทิ 1 ถ้วย
หางกะทิ 1 1/2 ถ้วย
ตาลทราย 1/2 ถ้วย
งาขาวคั่วบุบพอแตก 1 ช้อนโต๊ะ
ข้าวโพดต้มสุกหั่นบางๆ 1/2 ถ้วย
เกลีอป่น 1 ช้อนชา
ใบเตย 3 ใบ

วิธีทำกล้วยบวชชี
1. ต้มกล้วยทั้งเปลือกให้สุกประมาณ 20 นาที
2. ใส่หางกะทิลงในกระทะทอง ใส่ใบเตยที่หั่นเป็นท่อนๆ ใช้ไฟปานกลาง ต้มจนเดีอด
3. ปอกเปลือกกล้วยที่ต้มแล้ว ตัดให้เป็น 4 ชิ้น/ลูก จากนั้นนำไปใส่ลงในหม้อที่ต้มหางกะทิ ต้มต่อใช้เวลาประมาณ 5 นาที
4. ใส่น้ำตาลทรายลงไป คนให้น้ำตาลทรายละลาย ต้มต่อให้เดือด
5. เติมหัวกะทิ เกลือลงไป คนให้เข้ากัน ยกลงจากเตา
6. ตักกล้วยบวชชีใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยงาคั่ว ใส่ข้า้วโพดหั่นลงไป

***เคล็ดลับการทำกล้วยบวชชี
-การทำกล้วยบวชชีนั้น ต้องต้มกล้วยทั้งเปลือกก่อน กล้วยจะได้ไม่ดำ ทำให้แลดูน่ากิน
-งาที่จะใช้โรยหน้ากล้วยบวชชีนั้น จะเลือกใช้งาขาวหรืองาดำก็ได้ แต่คั่วแล้วให้บุบพอแตก งาจะได้หอมชวนกิน และกรอบอร่อย
-หลังจากใส่หัวกะทิแล้วต้องรีบยกลงจากเตาทันที จะทำให้กะทิขาวสวย น่ากิน

ซ่าหริ่ม

ซ่าหริ่ม
ซ่าหริ่มซ่าหริ่มเป็นขนมไทยรสชาติหอมมัน อร่อยด้วยเส้นที่เหนียวนุ่ม ต้องมาจากกะทิที่คั้นสดตามแบบขนมไทย

ส่วนผสม•แป้งซาหริ่ม 1 ถ้วย
•น้ำใบเตยคั้นข้นๆ 1/2 ถ้วย
•น้ำเปล่า 5 ถ้วย
•พิมพ์ สำหรับ กด

ส่วนผสมน้ำกะทิ•หัวกะทิ 2 ถ้วย
•น้ำตาลทราย 2 ถ้วย
•ผสมน้ำตาล หัวกะทิ คนจนน้ำตาลละลาย กรองด้วยผ้าขาวบาง นำไปอบควันเทียนให้หอม


วิธี ทำ
ผสมแป้งซ่าหริ่ม น้ำ น้ำใบเตย เข้าด้วยกัน กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่
กระทะทอง ตั้งไฟกลาง กวนแป้งสุก รีบตักใส่พิมพ์ กดเป็นเส้นลงในน้ำเย็นจน
หมด เทใส่ผ้าขาวบาง ทำให้สะเด็ดน้ำ ใส่น้ำแข็งพักไว้

เวลากินให้ ตักซ่าหริ่มใส่ถ้วย ใส่น้ำกะทิ น้ำแข็ง เสิร์ฟได้ทันที

มะพร้าวแก้ว

มะพร้าวแก้ว
มะพร้าว แก้ว
มะพร้าวแก้วเป็นขนมไทยที่หลายๆคนอาจจะไม่คุ้นเคย ส่วนประกอบหลักๆมาจากมะพร้าวทึนทึกและน้ำตาล เป็นขนมไทยที่มีรสหวานหอม อร่อย
ส่วนผสม
มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น 2 ถ้วย
น้ำตาลทรายขาว 1 ถ้วย
น้ำลอยดอกมะลิ 1/4 ถ้วย
สีผสมอาหาร

สิ่งที่ต้องเตรียม
ช้อน, ถาด

วิธีทำ
1. กระทะทองตั้งไฟ ใส่น้ำตาล น้ำลอยดอกมะลิ จนน้ำเชื่อมเริ่มเหนียว
เป็นยางมะตูม ใส่สีผสมอาหารตามต้องการ คนให้เข้ากันทั่ว
2. ใส่มะพร้าวทึนทึก คนจนน้ำเชื่อมจับเส้นมะพร้าว ยกลง ใช้ช้อนเล็กๆ 2 คัน
ตักมะพร้าวตะล่อมให้เป็นก้อนเล็กๆ ซึ่งลมจนแห้ง เก็บใส่กล่อง อบด้วยดอกมะลิสดอีกครั้ง

**หมายเหต
1. มะพร้าวแก้วถ้าใส่สีต้องให้มีสีอ่อนๆ หอมกลิ่นดอกไม้ ผิวนอก
แห้งแต่ภายในยังมีความชุ่มน้ำเชื่อม รสหวานมันและหอม
2. การใส่สีต้องใส่ขณะน้ำเชื่อมร้อน คนให้สีเข้ากันทั่ว ใส่มะพร้าวทึนทึก
3. มะพร้าวทึนทึก ถ้าอ่อนเกินไปจะดูดน้ำเชื่อมได้น้อยก็ต้องเพิ่มปริมาณมะพร้าว แต่ถ้าแก่เกินไปก็ดูดน้ำเชื่อมมาก น้ำเชื่อมจะแห้งก็ต้องเพิ่มน้ำตาล

ขนมดอกโสน ขนมไทย


โสน มีหลายชื่อ คือ โสนหิน โกนกินดอก โสนน้ำ โสนหนอง ภาคเหนือเรียก ผักฮองแฮง  โสนเป็นไม้สกุลเดียวกับแค พบในพื้นที่น้ำขังสูงประมาณ 1-4 เมตร ออกดอกเป็นช่อที่โคนกิ่งและปลายยอดคล้ายดอกถั่ว ดอกสีเหลือง โสนมีรสจืดและมัน ดอกโสน 100 กรัม ให้พลังงาน 400 กิโลแคลอรี มีเส้นใย 309 กรัมแคลเซียม 51 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 56 มิลลิกรัม เหล็ก 8.2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 336 I.U. วิตามินบีหนึ่ง 0.26 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.40 มิลลิกรัม ไนอะซิน 2.8 มิลลิกรัม วิตามินซี 24 มิลลิกรัม
ดอกโสนนั้นนิยมนำดอกมาใช้ทำเป็นอหาร เช่น แกงส้ม ยำ ทอดใส่ไข่ หรือลวกน้ำพริกจิ้ม แต่รู้กันหรือเปล่าว่า นอกจากอาหารคาวแล้ว ยังนำมาทำเป็นขนมได้อีกด้วย

ขนมดอกโสน ขนมไทย
ส่วนผสม
ดอกโสน 2 ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วยตวง
หัวกะทิ ¾ ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย ¾ ถ้วยตวง
เกลือป่น ½ ช้อนชา
มะพร้าวทึนทึก 1 ถ้วยตวง

วิธีทำขนมดอกโสน ขนมไทย
1. เลือกดอกโสนที่บาน เด็ดก้านออกล้างให้สะอาด พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
2.ผสมหัวกะทิกับน้ำตาลทราย เกลือป่น ใส่หม้อตั้งไฟกลางพอน้ำตาลทรายละลายยกลง พักไว้ให้เย็น
3.ร่อนแป้งข้าวเจ้าลงในอ่างผสมที่มีดอกโสน เคล้าเบาๆ พรมน้ำกะทิเคล้าเบาๆ สลับกับร่อนแป้งข้าวเจ้าจนหมดใส่มะพร้าวทึนทึก (สังเกตแป้งจะจับติดกับดอกโสนสม่ำเสมอเมื่อแป้งมีความชื้้นปานกลาง)
4. นำไปนึ่งในลังถึง โดยปูผ้าขาวบางลง เทขนมลงตรงกลางผ้า นึ่งด้วยไฟแรงและน้ำเดือดพล่านประมาณ 12 นาที
5.นึ่งมะพร้าวทึนทึกนาน 5-10 นาที และแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่ 1 ใส่ในขนมดอกโสน และส่วนที่ 2 สำหรับโรยหน้าขนม)
6.จัดใส่จานเสิร์ฟกับมะพร้าวทึนทึก โรยหน้าด้วยน้ำตาลทรายและเกลือป่น เสิร์ฟ
ขนมดอกโสน ขนมไทย

วิธีทำขนมเล็บมือนาง ขนมไทย


วิธีทำขนมเล็บมือนาง  ขนมไทย
ขนมชนิดนี้เป็นขนมไทยที่มีลักษณะแหลมคล้ายเล็บมือของนางรำ มีหลายสี แต่ต้องเป็นสีอ่อนๆ ไม่ฉูดฉาด เรามาดูกันว่าวิธีการทำขนมไทยชนิดนี้เป็นอย่างไร ทำอย่างไร มีส่วนผสมอะไรบ้าง
ส่วนผสมตัวขนมเล็บมือนาง 
แปังข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง 

ขนมขี้หนู ขนมไทย

ขนมขี้หนู
ขนมขี้หนู ขนมไทย ขนมนี้มีหลายชื่อ เช่น ขนมขี้หนู ขนมทราย และขนมละอองฟ้า เทคนิคสำคัญที่สุดในการทำขนมขี้หนู คือ ขณะใส่น้ำเชื่อมลงในแป้ง โรยน้ำเชื่อมให้ทั่วแป้ง และห้ามคนโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ขนมเสียไม่ฟู และการอบขนมด้วยควันเทียน นอกจากจะอบขณะอบขนมเย็นแล้วยังสามารถใส่ดอกมะลิ หรือกุหลาบมอญลงไปด้วยก็ได้หรือถ้าต้องการจะใส่สีต่างๆ ให้หยดสีลงไปในน้ำเชื่อม

ส่วนผสมตัวแป้งขนมขี้หนู ขนมไทย
แป้งข้าวเจ้า 1 1/4 ถ้วยตวง
กะทิ 1/4 ถ้วยตวง
น้ำเชื่อม
น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
น้ำสะอาด 12 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย า1ถ้วยตวง
สีตามชอบ

วิธีทำขนมขี้หนู ขนมไทย
1 เคี่ยวน้ำตาลทรายกับน้ำลอยดอกมะลิ ให้เหลือ 3/4 ถ้วย ก่อน ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น
2 เทแป้งใส่ชาม ค่อยๆ เทกะทิลงในเนื้อแป้งทีละน้อย คนให้เข้ากันจนได้เนี้อแป้ง ออกมามีลักษณะเปียกหมาดๆ
3 ยีแป้งด้วยที่ร่อนแปัง 2-3 ครั้ง บนผ้าขาวบาง.
4. นำไปนึ่ง ใช้ไฟแรง นึ่งประมาณ 25 นาที
5. นำแป้งที่นึ่งสุกใส่ภาชนะ ค่อยๆ เทน้ำเชื่อมราดลงให้ทั่วเนื้อแป้งห้ามคนทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที
6. ใช้ส้อม ค่อยๆ เกลี่ยแป้งให้ฟูขึ้น นำไปอบควันเทียน
7. โรยหน้าด้วยมะพร้าวทึนทึกขูดฝอยคลุกเกลือ เพียงเท่านี้ก็จะได้ขนมขี้หนู ขนมแบบไทยๆ สีสันสดใส และแสนอร่อยไว้ทั้งรับประทานเองหรือจำหน่ายเป็นรายได้เสริม
แปังท้าวยายม่อม 1 ช้อนโต๊ะ 
แป้งมัน 1ช้อนโต๊ะ 
น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง 

ส่วนผสมอี่น ๆ
มะพร้าวขูดขาว 2 ถ้วยตวง
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
งาดำงาขาวคั่ว 2 ช้อนโตะ
น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
หัวกะทิ 1/2 ถ้วยตวง

วิธีทำขนมเล็บมือนาง  ขนมไทย
1. คลุกมะพร้าวกับเกลือเข้าด้วยกัน นำไปนึ่งไฟกลาง 5- 10 นาที
2. ผสมแปังนวลเข้าด้วยกันพักไว้
3. ผสมแปังทั้ง 3 ชนิด เข้าด้วยกัน ค่อยๆ ใส่น้ำทีละน้อยลงไปจนหมด ใส่กระทะทองไว้
4. นำไปกวนด้วยไฟกลาง จนแป้งจับตัวเป็นก้อน ยกลงใส่ในภาชนะที่มีแป้งนวล นวดให้แป้งเนียนเข้ากันดี 
ใส่สีอ่อนๆ ตามชอบ ปั้นให้เป็นตัวขนมยาวประมาณครึ่งนิ้ว หัวท้ายแหลม พักไว้
5. ตั้งกระทะใส่น้ำปูนใส พอน้ำเดือดให้นำตัวขนมที่เตรียมไว้มาต้ม พอขนมลอยขึ้นก็ตักใส่น้ำเย็น เทใส่กระชอนพักให้สะเด็ดน้ำ คลุกด้วยมะพร้าวที่เตรียมไว้
 6. ผสมงาทั้ง 2 ชนิด และน้ำตาลทรายเข้าด้วยกัน นำไปบดในครกพอเข้ากัน พักไว้ พักไว้
7. นำหัวกะทิตั้งไฟ 2 นาที ยกลง
8. เมี่อจะเสิร์ฟ ตักขนมเล็บมือนางใส่จาน ราดหัวกะทิ โรยงาที่เตรียมไว้ เสิร์ฟได้ทันที

ทับทิมกรอบ

สูตรทับทิมกรอบ


ทับทิมกรอบนั้นนิยมใช้แห้วทำเนื่องจากจะมีความหวานมันในตัว แต่ถ้าหาแห้วสดไม่ได้ จะใช้แห้วกระป๋องแทนก็ได้ นอกจากแห้วแล้ว แป้งท้าวยายม่อมเป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้แห้งติดแล้วได้นาน ขณะที่นำแล้วไปต้ม อย่าให้น้ำเดือดมาก แป้งจะหลุดหมด สีที่ใช้นอกจากจะใช้น้ำหวานสีแดงแล้ว จะใช้สีเหลืองหรือสีเขียวก็ได้ วิธีทำเช่นเดียวกัน


ส่วนผสมทับทิมกรอบ
1.แห้วจีนดิบ หั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า หรือแห้วกระป๋อง 1 ถ้วยตวง
2.น้ำหวานสีแดง 1/2 ถ้วยตวง
3.แป้งมัน 1 ถ้วยตวง
4.แป้งท้าวยายม่อม ป่นละเอียด 1/4 ถ้วยตวง


ส่วนผสมน้ำเชื่อมสำหรับทับทิมกรอบ
1.น้ำลอยดอกมะลิ 1 ถ้วยตวง
2.น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง

ส่วนผสมน้ำกะทิทับทิมกรอบ
1.หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
2.เกลือป่น 1 ½ ถ้วยตวง
3.ขนุนหั่นเล็กๆ สั้นๆ ¼ ถ้วยตวง

วิธีทำทับทิมกรอบ
1. แช่แห้วในน้ำหวานสีแดง พักไว้ประมาณ 30 นาที
2. ผสมแป้งมันกับแป้งท้าวยายม่อม ให้เข้ากัน
3. กรองแห้วด้วยกระชอนให้สะเด็ดน้ำ นำไปคลุกในแป้งข้อ 2. ให้ทั่ว พักไว้ 5- 10 นาที
4. เมื่อน้ำต้มพอเดือด นำแห้วที่คลุกแป้งแล้วลงต้มพอสุกลอยตักขึ้น พักไว้ในน้ำ เย็น
5. ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ แช่ในน้ำเชื่อม

วิธีทำน้ำเชื่อมทับทิมกรอบ

1.ผสมน้ำลอยดอกมะลิกับน้ำตาลทราย ตั้งไฟกลาง เคี่ยว 5 นาที ใส่ขนุน
2.เคี่ยวต่ออีก 5 นาที ยกลงทิ้งให้เย็น นำไปอบควันเทียน 20 - 30 นาที

วิธีทำน้ำกะทิทับทิมกรอบ1.ผสมหัวกะทิกับเกลือใสหม้อตั้งไฟกลาง ประมาณ 2 นาที ยกลง
2.เมื่อจะเสิร์ฟตักทับทิมใส่ถ้วย ใส่น้ำเชื่อม น้ำแข็งก้อนเล็กๆ ราดด้วยน้ำกะทิ นอกจากจะนิยมใส่ขนุนลงไปแล้ว ยังนิยมใส่มะพร้าวกะทิลงไปด้วย ทำให้รสชาติอร่อยยิ่งขึ้น

ขนมโคกะทิสด ขนมไทย

ขนมโคกะทิสด ขนมไทย
เป็นขนมโบราณที่ไม่ค่อยเห็น การอบไส้ขนมทุกชนิดด้วยควันเทียน ต้องให้ขนมเย็นก่อนเสมอจุดสำคัญของขนมนี้คือกะทิต้องขาวสวย เหมือนกะทิสด น้ำกะทิจะมีรสเค็มหวานเล็กน้อย สมัยโบราณทำเฉพาะสีขาว แต่ปัจจุบันทำเป็นสีต่างๆ เพื่อให้ชวนรับประทาน

ส่วนผสมไส้ขนมขนมโคกะทิสด ขนมไทย
มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย 1 ถ้วยตวง
น้ำตาลมะพร้าว 1/2 ถ้วยตวง
น้ำเปล่า ¼ ถ้วยตวง

ส่วนผสมน้ำกะทิ
หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1 ½ ถ้วยตวง
แป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1 ช้อนชา

ส่วนผสมแป้ง
แป้งข้าวเหนียว 1 ½ ถ้วยตวง
น้ำร้อน ½ ถ้วยตวง

วิธีทำขนมโคกะทิสด ขนมไทย
1. นวดแปังข้าวเหนียวกับน้ำร้อน ให้แป้งเนียนและนุ่ม ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมคร พักไว้
2. ผสมน้ำตาลมะพร้าวกับน้ำเปล่า พอน้ำตาลละลายใส่มะพร้าว กวนให้เข้ากันตั้งไฟกลางค่อนข้างอ่อน กวนประมาณ 5 นาที หรือจนกว่าไส้ขนมจะเเห้ง
3. ปั้นเป็นกลมๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เชนติเมตร อบควันเทียน 20-30 นาที
4. แผ่แป้งที่ปั้นไว้แล้วให้บาง วางไส้ตรงกลางหุ้มให้มิด คลึงเป็นก้อนกลมๆ
5. ต้มน้ำให้เดือด นำขนมที่ใส่ไส้แล้วลงต้มให้สุก พอลอย ตักขึ้นผ่านน้ำเย็นเพื่อป้องกันไม่ให้แป้งติดกัน
6. ผสมหัวกะทิ แป้งข้าวเจ้า เกลือป่น น้ำตาลทราย ใส่หม้อ คนให้แป้งละลายตั้งไฟกลาง คนไปเรื่อยๆ พอเดือดเล็กน้อย หรือควันขึ้นรีบยกลงทันที
7. ตักขนมโคกะทิสดใส่ถ้วย เมื่อจะรับประทาน ราดหน้าด้วยน้ำกะทิ